Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2000-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอของอะคริ ลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อนและสารเคมีจํานวน 10 ชนิด ซึ่งมีจําหน่ายในประเทศไทยเพื่อ ที่จะเป็นแนวทางในการเลือกใช้อะคริลิกกับงานชนิดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม วัสดุและวิธีการ นําอะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อนจํานวน 7 ชนิด ได้แก่ Rodex, Majorbase, How medica, Meliodent, G.C Luxon, Takilon ชนิดใสและ Lang และอะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้น ปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยสารเคมีจํานวน 3 ชนิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ Meliodent, How medica และ Orthoresin มา ทดสอบหาค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการตัดงอ โดยทําชิ้นตัวอย่างให้ได้ตามมาตรฐาน ISO R-1567 สร้างชิ้นตัวอย่างชนิดละ 5 ชิ้น แล้วนําไปทดสอบโดยใช้เครื่องทดสอบ ลอยด์ ยูนิเวอร์ซัล รุ่น 10K นําค่าที่ได้ไปศึกษาหา ค่าความแตกต่างทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา อะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อน ผลิตภัณฑ์ Rodex มีค่ากําลังตัดขวางและ ค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักสูงกว่าอะครีลิกเรซินทั้งหมดที่นํามาทดสอบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และมีค่า ความสามารถในการดัดงอสูงที่สุดแต่ไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ Lang อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) และ อะครีลิกเรซิน ผลิตภัณฑ์ Meliodent มีค่ากําลังตัดขวาง อะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยสารเคมีและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักสูงสุดในกลุ่มของ สรุป อะครีลิกเรซินที่มีขายในประเทศไทยมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีค่ากําลังตัดขวางและความสามารถในการถูกตัดงอแตกต่างกัน ทันตแพทย์ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.23.2.6
First Page
121
Last Page
128
Recommended Citation
รัตนสุวรรณ, สิทธิโชค; ทองปุสสะ, กุสสี; and พันธุ์โกศล, ปิยะวัฒน์
(2000)
"กําลังตัดขวางและความสามารถในการถูกดัดงอ ของอะคริลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อนและสารเคมีที่มีจําหน่ายในประเทศไทย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 23:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.23.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol23/iss2/6