•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2000-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปร่างลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟัน ในฟันหน้าล่างของคนไทยและเปรียบเทียบ ผลกับการศึกษาที่ผ่านมา วัสดุและวิธีการ ฟันหน้าล่างจํานวน 650 สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ที่รวบรวมจากสถานพยาบาลทางทันตกรรม ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้รับการวัดความยาว และเปิดช่องทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟัน หลังจากแช่ฟันใน โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5.25% เป็นเวลา 24 ช.ม.แล้ว ฟันทั้งหมดได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกรรมวิธีการทําฟันใส จากนั้นทําการฉีด อินเดีย อิงค์ เข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟันและระบบคลองราก โดยใช้เครื่องดูดแรงสูง ช่วยดูดตรงรูเปิด ปลายรากฟัน ลักษณะคลองรากฟันที่ปรากฏ ได้รับการศึกษาและจําแนกลักษณะ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตริโอ โดยยึดถือตามการจําแนกลักษณะระบบคลองรากฟันของเวอร์ทุกซี่ ผลการศึกษา ฟันเขี้ยวล่างทั้งหมดที่ศึกษาพบว่ามีคลองรากเดียว ส่วนฟันตัดล่างพบลักษณะคลองรากฟันแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 แบบที่ 4 และแบบที่ 6 ร้อยละ 74.65 6.95 6.42 11.11 และ 0.87 ตามลําดับ ในกลุ่มฟัน แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ที่มีสองคลองรากแล้วมีการรวมกันเป็นคลองรากเดียวก่อนออกสู่ปลายรากนั้น โอกาสที่พบว่า การรวมกัน เกิดขึ้น ณ ระดับ 4 ม.ม. หรือมากกว่า จากรูเปิดปลายรากมีเพียงร้อยละ 11.84 ความยาวเฉลี่ยของ ฟันตัด และฟันเขี้ยว มีค่าเท่ากับ 20.6 และ 23.5 ม.ม. ตามลําดับ สรุป การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟันหน้าล่างในคนไทยกลุ่มหนึ่ง ปรากฏผลว่าฟันเขี้ยวที่ศึกษา ทั้งหมด มีคลองรากเดียว ส่วนในฟันตัด พบอุบัติการณ์สองคลองรากร้อยละ 25.35

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.23.1.1

First Page

1

Last Page

12

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.