Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
2000-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปร่างลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟัน ในฟันหน้าล่างของคนไทยและเปรียบเทียบ ผลกับการศึกษาที่ผ่านมา วัสดุและวิธีการ ฟันหน้าล่างจํานวน 650 สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ที่รวบรวมจากสถานพยาบาลทางทันตกรรม ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้รับการวัดความยาว และเปิดช่องทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟัน หลังจากแช่ฟันใน โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5.25% เป็นเวลา 24 ช.ม.แล้ว ฟันทั้งหมดได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกรรมวิธีการทําฟันใส จากนั้นทําการฉีด อินเดีย อิงค์ เข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟันและระบบคลองราก โดยใช้เครื่องดูดแรงสูง ช่วยดูดตรงรูเปิด ปลายรากฟัน ลักษณะคลองรากฟันที่ปรากฏ ได้รับการศึกษาและจําแนกลักษณะ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตริโอ โดยยึดถือตามการจําแนกลักษณะระบบคลองรากฟันของเวอร์ทุกซี่ ผลการศึกษา ฟันเขี้ยวล่างทั้งหมดที่ศึกษาพบว่ามีคลองรากเดียว ส่วนฟันตัดล่างพบลักษณะคลองรากฟันแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 แบบที่ 4 และแบบที่ 6 ร้อยละ 74.65 6.95 6.42 11.11 และ 0.87 ตามลําดับ ในกลุ่มฟัน แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ที่มีสองคลองรากแล้วมีการรวมกันเป็นคลองรากเดียวก่อนออกสู่ปลายรากนั้น โอกาสที่พบว่า การรวมกัน เกิดขึ้น ณ ระดับ 4 ม.ม. หรือมากกว่า จากรูเปิดปลายรากมีเพียงร้อยละ 11.84 ความยาวเฉลี่ยของ ฟันตัด และฟันเขี้ยว มีค่าเท่ากับ 20.6 และ 23.5 ม.ม. ตามลําดับ สรุป การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟันหน้าล่างในคนไทยกลุ่มหนึ่ง ปรากฏผลว่าฟันเขี้ยวที่ศึกษา ทั้งหมด มีคลองรากเดียว ส่วนในฟันตัด พบอุบัติการณ์สองคลองรากร้อยละ 25.35
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.23.1.1
First Page
1
Last Page
12
Recommended Citation
ลิ้มสมบัติอนันต์, สมไชย and โต๊ะชูดี, สุพัตรา
(2000)
"ลักษณะทางกายวิภาคของคลองราก ในฟันหน้าล่างของคนไทยกลุ่มหนึ่ง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 23:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.23.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol23/iss1/1