Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1999-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ ปรอทถูกนํามาใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุอุดฟันมาเป็นเวลานาน ซึ่งถึงแม้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อ การบูรณะฟัน แต่ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์ และเนื้อเยื่อยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความเป็นพิษของปรอทที่มีความเข้มข้น ระหว่าง 10-6-10-3 โมลาร์ (mole/L) เปรียบเทียบกับแกลเลี่ยม ที่มีความเข้มข้นเดียวกัน วัสดุและวิธีการ โดยทําการทดสอบกับเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟัน ของคน ทําการวิเคราะห์ความเป็นพิษของสารทดสอบด้วย MTT colorimetric assay ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์การ ทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase ที่อยู่ในไมโทคอนเดรีย ผลการศึกษาและสรุป เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ปรากฏว่า สารปรอทที่ความเข้มข้นระหว่าง 10-3 ถึง 10-4 โมลาร์ จะแสดงความเป็นพิษต่อการทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase โดยที่ความเข้มข้น 10-3 โมลาร์ จะทําให้การ ทํางานของเอ็นไซม์ยุติลงโดยสิ้นเชิง ในขณะที่แกลเลี่ยมในความเข้มข้นต่างๆ ที่ใช้ทดสอบไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อ การทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase ในไมโทคอนเดรีย นอกจากนี้ยังพบว่าปรอทที่ความเข้มข้น 0.3 มิลลิโมลาร์ จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพของเซลล์และผิวเยื่อของเซลล์ เมื่อทําการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.22.4.4
First Page
213
Last Page
218
Recommended Citation
นพคุณ, จีรศักดิ์
(1999)
"ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟันของคน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 22:
Iss.
4, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.22.4.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol22/iss4/4