•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1999-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ทดสอบความคงทนสีของวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติชนิดต่างๆ ภายหลังจากการได้รับแสงอาทิตย์เป็นเวลา 50 100 150 200 250 และ 300 ชั่วโมง วัสดุและวิธีการ วัสดุอุดฟันสีธรรมชาติที่ใช้ศึกษาได้แก่ คอมโพสิตเรซิน 2100 และ Herculite XRV คอมโพสิต- เรซินชนิดดัดแปรด้วยกรดโพลี Dyract กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ Fuji IX และ Ketac-Molar กลาสไอโอโนเมอร์ซิเมนต์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน Fuji II LC improved และ Vitremer เตรียมชิ้นตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. หนา 1.2 มม. จํานวน 6 ชิ้นในแต่ละผลิตภัณฑ์ แช่ในน้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนําไปวัดสี (L*, at, b) ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ จากนั้นแช่ในน้ํากลั่น 30 ซม. นําไปวาง กลางแสงอาทิตย์ ทําการวัดสี ณ ชั่วโมงที่ 50 100 150 200 250 และ 300 จากนั้นนําค่า L* a* และ b* มา คํานวณค่าความแตกต่างสี (AE) ของวัสดุที่ใช้ในการทดลองที่ชั่วโมงต่างๆ ตามลําดับผล ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ AE” ของวัสดุที่ใช้ในการทดลองที่ชั่วโมงต่างๆ ตามลําดับ ดังนี้ Z100 มีค่า 0.74±0.11 0.77±0.06 0.79±0.07 1.01 +0.16 1.97 +0.25 และ 0.79 -0.13 Herculite XRV มีค่า 2.30±0.18 2.99±0.35 2.90 +0.23 2.66 +0.27 4.03 +0.28 และ 2.87 +0.33 Dyract มีค่า 1.130.14 1.19±0.18 1.31 ±0.13 1.09±0.29 1.56±0.19 และ 1.28 ± 0.29 Ketac-Molar มีค่า 1.80±0.60 4.08 ± 0.88 4.12 ± 0.92 4.18 ±1.54 4.34 +0.85 4.99 +0.98 Fuji IX มีค่า 2.22 ± 0.24 2.68 ±0.34 2.55±0.50 5.66 ± 0.42 4.46 ± 0.29 และ 6.14 ± 0.55 Fuji II LC improved มีค่า 3.48 +0.49 3.28 ± 1.39 3.90+1.06 4.33 ± 0.81 4.24 + 1.36 4.84 +1.05 Vitremer มีค่า 1.94 0.32 2.62 +0.40 3.19±0.63 4.11 ± 0.65 4.06 +0.62 และ 5.73 +1.06 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง (2-way ANOVA) พบว่าผลิตภัณฑ์ของวัสดุอุดฟันสี ธรรมชาติ และช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสงอาทิตย์มีอิทธิพลทําให้ค่าความแตกต่างสีของวัสดุเปลี่ยนอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะในวัสดุอุดฟันชนิดเดียวกัน ก็พบว่าผลิตภัณฑ์ของคอมโพสิตเรซินมีผลต่อการเปลี่ยน ค่าความแตกต่างสีของวัสดุอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 แต่ผลิตภัณฑ์ของกลาสไอโอโนเมอร์ซิเมนต์ไม่มีผลต่อการ เปลี่ยนค่าความแตกต่างสีของวัสดุอย่างมีนัยสําคัญ p> 0.05 เมื่อพิจารณาโดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนสีทางคลินิกที่ AE* > 3.5 เมื่อนําวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติสัมผัสกับแสงอาทิตย์เป็นเวลา 300 ชั่วโมง พบว่าสีของวัสดุอุดกลาสไอโอ โนเมอร์ซิเมนต์เกิดความแตกต่างที่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่สีของวัสดุอุดคอมโพสิตเรซินไม่เกิดความแตกต่าง

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.22.4.2

First Page

191

Last Page

203

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.