Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1999-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ ทดสอบความคงทนสีของวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติชนิดต่างๆ ภายหลังจากการได้รับแสงอาทิตย์เป็นเวลา 50 100 150 200 250 และ 300 ชั่วโมง วัสดุและวิธีการ วัสดุอุดฟันสีธรรมชาติที่ใช้ศึกษาได้แก่ คอมโพสิตเรซิน 2100 และ Herculite XRV คอมโพสิต- เรซินชนิดดัดแปรด้วยกรดโพลี Dyract กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ Fuji IX และ Ketac-Molar กลาสไอโอโนเมอร์ซิเมนต์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน Fuji II LC improved และ Vitremer เตรียมชิ้นตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. หนา 1.2 มม. จํานวน 6 ชิ้นในแต่ละผลิตภัณฑ์ แช่ในน้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนําไปวัดสี (L*, at, b) ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ จากนั้นแช่ในน้ํากลั่น 30 ซม. นําไปวาง กลางแสงอาทิตย์ ทําการวัดสี ณ ชั่วโมงที่ 50 100 150 200 250 และ 300 จากนั้นนําค่า L* a* และ b* มา คํานวณค่าความแตกต่างสี (AE) ของวัสดุที่ใช้ในการทดลองที่ชั่วโมงต่างๆ ตามลําดับผล ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ AE” ของวัสดุที่ใช้ในการทดลองที่ชั่วโมงต่างๆ ตามลําดับ ดังนี้ Z100 มีค่า 0.74±0.11 0.77±0.06 0.79±0.07 1.01 +0.16 1.97 +0.25 และ 0.79 -0.13 Herculite XRV มีค่า 2.30±0.18 2.99±0.35 2.90 +0.23 2.66 +0.27 4.03 +0.28 และ 2.87 +0.33 Dyract มีค่า 1.130.14 1.19±0.18 1.31 ±0.13 1.09±0.29 1.56±0.19 และ 1.28 ± 0.29 Ketac-Molar มีค่า 1.80±0.60 4.08 ± 0.88 4.12 ± 0.92 4.18 ±1.54 4.34 +0.85 4.99 +0.98 Fuji IX มีค่า 2.22 ± 0.24 2.68 ±0.34 2.55±0.50 5.66 ± 0.42 4.46 ± 0.29 และ 6.14 ± 0.55 Fuji II LC improved มีค่า 3.48 +0.49 3.28 ± 1.39 3.90+1.06 4.33 ± 0.81 4.24 + 1.36 4.84 +1.05 Vitremer มีค่า 1.94 0.32 2.62 +0.40 3.19±0.63 4.11 ± 0.65 4.06 +0.62 และ 5.73 +1.06 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง (2-way ANOVA) พบว่าผลิตภัณฑ์ของวัสดุอุดฟันสี ธรรมชาติ และช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสงอาทิตย์มีอิทธิพลทําให้ค่าความแตกต่างสีของวัสดุเปลี่ยนอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะในวัสดุอุดฟันชนิดเดียวกัน ก็พบว่าผลิตภัณฑ์ของคอมโพสิตเรซินมีผลต่อการเปลี่ยน ค่าความแตกต่างสีของวัสดุอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 แต่ผลิตภัณฑ์ของกลาสไอโอโนเมอร์ซิเมนต์ไม่มีผลต่อการ เปลี่ยนค่าความแตกต่างสีของวัสดุอย่างมีนัยสําคัญ p> 0.05 เมื่อพิจารณาโดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนสีทางคลินิกที่ AE* > 3.5 เมื่อนําวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติสัมผัสกับแสงอาทิตย์เป็นเวลา 300 ชั่วโมง พบว่าสีของวัสดุอุดกลาสไอโอ โนเมอร์ซิเมนต์เกิดความแตกต่างที่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่สีของวัสดุอุดคอมโพสิตเรซินไม่เกิดความแตกต่าง
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.22.4.2
First Page
191
Last Page
203
Recommended Citation
วิวัฒน์วรพันธ์, ชัยรัตน์; พุกกะเวส, โบว์; ภู่เกียรติ, ฟ้าใส; and สิริบุญวินิต, ฐิตาภา
(1999)
"ความคงทนสีของวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติต่อแสงอาทิตย์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 22:
Iss.
4, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.22.4.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol22/iss4/2