•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1999-07-01

Abstract

วัตถุประสงค์ การศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้ ทําเพื่อประเมินความสามารถในการต้านทานการละลายแร่ธาตุออก จากผิวฟัน ของวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว โดยมีวัสดุ บูรณะคอมโพสิตเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน เป็นวัสดุควบคุมบวกและควบคุมลบตามลําดับ วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟัน ขนาดกว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 3 มิลลิเมตร ลึก 2.5 มิลลิเมตร บริเวณรอยต่อ ของเคลือบฟันกับซีเมนตัมบนด้านแก้ม (buccal surface) ของฟันกรามน้อยของมนุษย์ที่ถูกถอนออกมาและไม่มี การยุบนด้านแก้ม จํานวน 60 ซี่ แบ่งฟันโดยการสุ่มออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ซี่ บูรณะฟันแต่ละกลุ่มด้วยวัสดุ Compoglass F, Dyract AP, Hytac Aplitip, Tetric, Photac-Fil Quick และ Silux Plux ตามวิธีที่บริษัทผู้ผลิต กําหนด นําฟันทั้งหมดมาแช่ใน demineralized solution (Synthetic polymer acidified gel pH 5.0) เป็นเวลา 10 วัน เพื่อให้เกิดการละลายแร่ธาตุบริเวณผิวฟันรอบๆ วัสดุบูรณะ นําฟันมาล้างให้สะอาด หุ้มด้วยเรซินชนิดใส และตัดฟันผ่านวัสดุบูรณะในแนวบดเคี้ยว-คอฟัน (occluso cervical) ให้ได้ชิ้นทดลองหนา 100 ±20 ไมครอน จํานวน 2 ชิ้นต่อ 1 ชิ้นฟันทดลอง วัดระยะความลึกของรอยผุจากผิวฟันที่บริเวณขอบโพรงฟันทางด้านบดเคี้ยวและ ด้านคอฟัน ด้วยเครื่อง stereomicroscope (Olympus, Japan) และ Image analysis System (LECO 1001, Canada) ผลการทดลอง ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Photac-Fil Quick มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุน้อย ที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Silux Plus มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุมากที่สุด (P<0.05) สําหรับกลุ่มของฟันที่บูรณะด้วยวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและชนิด ดัดแปลงด้วยแก้วปรากฏว่า ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Compoglass F มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุ น้อยที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Hytac Aplitip มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุ มากที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Tetric มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันด้านบดเคี้ยว ไม่แตก ต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่บูรณะด้วย Compoglass F และมีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันด้านคอฟัน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่บูรณะด้วย Dyract AP (P>0.05) สรุป ความสามารถในการต้านทานการละลายแร่ธาตุออกจากฟันของวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดดัดแปลงด้วยแก้วแต่ละผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกัน บางผลิตภัณฑ์มีความสามารถใกล้เคียงกับวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่ มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ อย่างไรก็ตาม วัสดุบูรณะทั้งสองประเภทนี้มีความสามารถในการต้านทานการละลายแร่ธาตุออกจากผิวฟันด้อยกว่าวัสดุบูรณะกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินแต่ดีกว่าวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่ไม่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.22.3.2

First Page

131

Last Page

137

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.