Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1999-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการเกิดรูปแบบของใบหน้าในแนวดิ่ง 3 รูปแบบ ตามการวัดมุมและระยะทาง 7 ค่า ซึ่งได้แก่ SN/MP UFH LFH ULL LLL ADH และ PDH ในกลุ่มเพศชายและหญิงที่มีโครงสร้างใบหน้าเป็น และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับอัตราการเกิดรูปแบบดังกล่าวคลาสทรี วัสดุและวิธีการ ทําการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์กําหนดและได้กลุ่มตัวอย่างที่มีโครงสร้างคลาสทรีที่ไม่เคย รับการจัดฟันจํานวน 200 คน (ชาย 100 คน หญิง 100 คน) วิเคราะห์เซฟฟาโลเมตริกด้วยการวัดค่ามุมและระยะ ทาง 7 ค่า และจําแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มตามค่ามุมและระยะทางที่น้อยกว่า เท่ากับ และมากกว่าปกติ ผลของการวิจัย และสรุป พบว่า อัตราการเกิดโอเพนไบท์หรือปกติมีจํานวนมากที่สุด คือ ร้อยละ 44-47 ทั้ง เพศชายและเพศหญิง (SN/MP, LFH และ LLL) ส่วนลักษณะอื่น ๆ ที่พบจํานวนมากที่สุดได้แก่ ใบหน้าที่มีริม ฝีปากบนสั้นกว่าปกติ (ULL) และใบหน้าที่มีความสูงของฟันหน้า (ADH) และฟันหลัง (PDH) เป็นปกติ มีอัตรา การเกิดใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 55-65 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง รวมทั้งไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศกับอัตรา การเกิดลักษณะดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นพบความแตกต่างระหว่างเพศกับอัตราการเกิด ใบหน้าที่มีความผิดปกติและปกติของความยาวส่วนบน (UFH) และความยาวส่วนล่าง (LFH) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.22.1.7
First Page
47
Last Page
54
Recommended Citation
ชิวชรัตน์, พรทิพย์ and เหล่าสุทธิวงษ์, รักพร
(1999)
"รูปแบบใบหน้าในแนวดิ่งในกลุ่มโครงสร้างคลาสทรี,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 22:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.22.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol22/iss1/7