Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1999-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษา ศึกษาเปรียบเทียบระดับความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทางทันตกรรมและ ปัจจัยเกี่ยวข้อง ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสาขาต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาที่นํามาวิเคราะห์มีจํานวน 660 คน ได้รับการแจกแบบสอบถามที่ประกอบด้วย คําถามด้านประชากรศาสตร์ และคําถามของ The Carah's Dental Anxiety Scale ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 8.6 ของประชากรศึกษาไม่แสดงความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทางทันตกรรม ค่าเฉลี่ยของคะแนนความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรม (DAS score) เท่ากับ 8.51± 3.27 เพศหญิง นิสิตในคณะต่างกันจะมีความกลัวและกังวลใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ มีความกลัวและกังวลใจมากกว่าเพศชายทางสถิติ (P≤0.001) และประสบการณ์ในการใช้บริการทันตกรรมครั้งแรกในชีวิตมีผลต่อความกลัวและกังวลใจของ กลุ่มนี้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.001)สรุป 1. ระดับความกลัวและกังวลใจของประชากรศึกษากลุ่มนี้เท่ากับ 8.51 ± 3.27 2. เพศ, กลุ่มคณะและประสบการณ์ในการใช้บริการทันตกรรมครั้งแรกมีผลต่อความกลัวและกังวลใจอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.22.1.5
First Page
31
Last Page
36
Recommended Citation
ระพิสุวรรณ, สุนทร; เปล่งสมบัติ, ขวัญศิริ; พุนทิกาพัทธ์, วิชุลดา; and ธีระเจตกูล, ศุลีพร
(1999)
"การศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจของนิสิตจุฬาฯ ต่อการใช้บริการทางทันตกรรม,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 22:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.22.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol22/iss1/5