Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1999-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับบริการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยที่มาถอนฟันที่โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช และโรงพยาบาลชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วัสดุและวิธีการ ศึกษาในผู้ป่วย 185 คน อายุระหว่าง 17-65 ปี มาถอนฟันที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช 92 คน และที่โรงพยาบาลอู่ทอง 93 คน เก็บข้อมูลในช่วงเวลา 3 สัปดาห์ โดยให้ผู้ป่วยกรอกแบบสอบถามเอง ทันตแพทย์ ตรวจฟัน บันทึกผลของการรักษาอย่างเหมาะสมสุด ผลการให้บริการที่ผู้ป่วยเห็นชอบและได้รับบริการจริง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for windows ทดสอบความสอดคล้อง ด้วยสถิติ Kappa ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทํางาน อาชีพรับจ้าง มารักษาโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งนี้ มีพฤติกรรม การรักษาทางทันตกรรมที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือส่วนใหญ่มาพบทันตแพทย์ด้วยอาการที่เป็นมากแล้ว คือ ปวดฟัน ฟันโยก เคี้ยวแล้วเจ็บ ฟันเหลือแต่ราก และผู้ป่วยทั้งสองโรงพยาบาลที่มารับบริการถอนฟัน ยังสามารถรักษาคลอง รากฟันได้ร้อยละ 21.7 และ 10.8 ตามลําดับ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่ต้องการเก็บรักษาฟันไว้ ที่ต้องการเก็บฟันไว้มีเพียง ร้อยละ 3.3 และ 2.2 เท่านั้น และพบว่างานบริการทันตกรรมที่ทันตแพทย์วินิจฉัย กับงานบริการทันตกรรมที่ผู้ป่วย ได้รับจริงมีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ อยู่ในระดับน้อย สรุป ผู้ป่วยทั้งโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชน ยังมีพฤติกรรมการรักษาทางทันตกรรมที่คล้ายคลึงกันและไม่ ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมาพบทันตแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้ว ผู้ป่วยชอบที่จะถอนฟันเพื่อให้พ้นจากความเจ็บปวด ดังนั้น ทันตแพทย์ควรอธิบายแผนการรักษาทุกครั้งก่อนให้บริการ และใช้เวลามากขึ้นเพื่ออธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อในการดูแลรักษาฟัน และตระหนักถึงความสําคัญของการมีฟันธรรมชาติไว้ใช้ในช่องปาก
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.22.1.4
First Page
23
Last Page
30
Recommended Citation
พร้อมนาวิน, วรนุช
(1999)
"พฤติกรรมการรับบริการทางทันตกรรมของผู้ป่วยที่มาถอนฟันที่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 22:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.22.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol22/iss1/4