•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1999-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ ศึกษาเปรียบเทียบความต้านทานแบบไดอะมีทรัลเทนไซล (Diametral tensile strength, DTS) และความต้านทานต่อแรงอัด (Compressive strength, CS) ของวัสดุสร้างแกนฟัน วัสดุและวิธีการ ชิ้นงานจํานวน 112 ชิ้น เตรียมจากวัสดุ 7 ชนิด ได้แก่ บิสคอร์ (Biscore), ไทคอร์ (Ti-core),ลักษ์อัลลอยด์ (Luxalloy), คอมโพกลาส (Compoglass), ไดแรค (Dyract), ไวทริเมอร์ (Vitremer) และดีแทคโมลาร์ (Ketac Molar) ในจํานวน 112 ชิ้น 56 ชิ้น (8 ชิ้นต่อวัสดุ 1 ชนิด) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร หนา 3 มิลลิเมตร ใช้สําหรับทดสอบความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และอีก 56 ชิ้น (8 ชิ้นต่อวัสดุ 1 ชนิด) มีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 3 มิลลิเมตร หนา 6 มิลลิเมตร ใช้สําหรับทดสอบความต้านทานต่อแรงอัด แซ่ชิ้นงานทั้งหมดในน้ํากลั่น และ เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนการทดลอง นําชิ้นงาน มาหาค่าความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และความต้านทานต่อแรงอัด ด้วยเครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง [Lloyd Instruments, LR 10K (Lloyd Instruments Ltd., Segensworth, Fareham)] ด้วยความเร็วหัวทดสอบ 5 มิลลิเมตร ต่อนาทีผลการศึกษาและสรุป จากการทดสอบทางสถิติโดยใช้ ANOVA พบความแตกต่างของความต้านทานไดอะ มีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อแรงอัดระหว่างวัสดุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.001 จากการศึกษาพบว่า วัสดุจําพวก กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน มีค่าความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อ แรงอัดต่ํา ไม่เหมาะสมกับการนํามาใช้สร้างแกนฟัน

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.22.1.1

First Page

1

Last Page

8

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.