Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1999-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าเฉลี่ยมาตรฐานขององค์ประกอบรอยยิ้ม อันได้แก่ รูปแบบ ของรอยยิ้ม ความหมายของโค้งปลายฟันหน้าบนกับริมฝีปากล่าง ตําแหน่งของโค้งปลายฟันหน้าบนที่สัมผัสกับ ริมฝีปากล่าง และบริเวณโปร่งแสงของฟันหน้าบน วิธีการศึกษา ทําการศึกษาในประชากรกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาจากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 ซึ่งมีอายุระหว่าง 19 ปี 22 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จํานวน 100 คน โดยเลือกผู้ที่มี ฟันหน้าบนครบทุกซี่ ไม่มีช่องว่างระหว่างฟัน และมีการเรียงตัวของฟันอยู่ในแนวปกติ โดยให้กลุ่มประชากร ตัวอย่างยิ้มอย่างเต็มที่ภายใต้แสงไฟนีออนธรรมดาทีละคน ในขณะที่มีผู้สังเกตดูองค์ประกอบต่าง ๆ ของรอยยิ้ม และบันทึกผลของนิสิตแต่ละคน จากนั้นจึงนําข้อมูลมาคํานวณเป็นร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสถิติชนิดไคสแควร์ ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 49 ของกลุ่มตัวอย่างขณะยิ้มเต็มที่จะเห็นฟันหน้าบน เกือบทั้งซี่ และเห็นเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันด้วย ร้อยละ 59 มีส่วนโค้งปลายฟันหน้าบนขนานกับเส้นโค้ง ด้านในของริมฝีปากล่าง ร้อยละ 74 ปลายฟันหน้าบนจะไม่สัมผัสกับริมฝีปากล่าง และร้อยละ 77 มีบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบนอยู่ที่ปลายฟัน องค์ประกอบของรอยยิ้มที่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ รูปแบบรอยยิ้ม และบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบน พบว่าเพศชายและหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 ส่วนองค์ประกอบของรอยยิ้มที่ไม่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ ความขนานและลักษณะการสัมผัสระหว่างโค้งปลายฟันหน้าบน และริมฝีปากล่าง พบว่าเพศชายและหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.22.Special.7
First Page
115
Last Page
122
Recommended Citation
เตชะกัมพุช, เพ็ชรา; สำเร็จกาญจนกิจ, ปิยมาศ; and แซ่ตั้ง, สิรินันท์
(1999)
"องค์ประกอบของรอยยิ้ม,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 22:
Iss.
0, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.22.Special.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol22/iss0/7