•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1999-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่และ ฟันกรามน้อยเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาใส่ฟันปลอมให้ผู้ป่วยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจํากัดในการใส่ฟันปลอม วิธีการศึกษา ทําการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีฟันเหลือเฉพาะฟันกรามน้อย 17 คน, เหลือเฉพาะฟันกราม ใหญ่ 7 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งมีฟันธรรมชาติครบ 28 ปี 20 คน โดยให้กลุ่มผู้ทดลองเคี้ยวลูกชิ้นปลาจํานวน 3 ลูก ลูกละ 10,20 และ 40 ครั้งตามลําดับจากนั้นคายลงในตะแกรงลวดเพื่อกรองลูกชิ้นปลาที่เคี้ยวแล้ว ผ่านตะแกรงความถี่เบอร์ 5 (0.1571) และเบอร์ 100 (0.0059) ตามลําดับ และนําเศษลูกชิ้นปลาในแต่ละ ตะแกรงไปชั่งน้ําหนักเพื่อคํานวณประสิทธิภาพการบดเคี้ยวจากร้อยละของน้ําหนักลูกชิ้นในตะแกรงละเอียดและ ตะแกรงหยาบ แล้วนํามาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยใช้ Independent t-test ที่ p>0.05 ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของกลุ่มที่มีฟันธรรมชาติอยู่ครบ เมื่อเคี้ยวจํานวน 10, 20, 40 ครั้งวัดได้ร้อยละ 16.03, 26.23 และ 42.05 ตามลําดับผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกราม น้อยวัดได้ 14.41, 19.92 และ 31.56 ตามลําดับส่วนผู้ที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่วัดได้ 14.58, 20.05 และ 30.23 ตามลําดับ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามน้อยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติจากผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่ (p>0.05) ดังนั้นผู้ป่วยที่สูญเสียฟันธรรมชาติไปควรใส่ฟันปลอม เพื่อให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวดีขึ้น แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อจํากัดในการใส่ฟันปลอมก็สามารถละเว้นได้โดยที่ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาจลดลงบ้าง

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.22.Special.2

First Page

69

Last Page

76

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.