Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1999-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจความต้องการการบําบัดรักษาทางทันตกรรม และปริมาณ การได้รับการบําบัดรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ามารับการรักษาในคลินิกของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการศึกษา วิธีการสํารวจทําโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะทางทันตกรรมและความต้องการการบําบัด รักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยสูงอายุจากแฟ้มผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการรักษาในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงปีพ.ศ. 2533-2537 เป็นจํานวนทั้งหมด 1,354 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลได้จาก การแบ่งกลุ่มศึกษาออกเป็น 5 กลุ่มช่วงอายุ โดยนําข้อมูลที่บันทึกได้มาคํานวณเป็นร้อยละและเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการทดลองและสรุป ผลการสํารวจพบว่าจํานวนผู้ป่วยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความ ต้องการบําบัดรักษาพิจารณาจากคําบอกกล่าวสําคัญ ซึ่งพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับฟันปลอมคิดเป็นร้อยละ 20.56 รองลงมาคือฟันหายไปคิดเป็นร้อยละ 18.35 และปวดฟันคิดเป็นร้อยละ 12.46 สําหรับงานบริการทาง ทันตกรรมที่ได้รับการรักษามากที่สุดคืองานทันตกรรมประดิษฐ์คิดเป็นร้อยละ 32.69 รองลงมาคือถอนฟันและ ศัลยกรรมในช่องปากคิดเป็นร้อยละ 14.08 ประเภทของงานทันตกรรมประดิษฐ์ชนิดฟันปลอมทั้งปากมีแนวโน้ม ลดลงจากร้อยละ 68.35 ในปีพ.ศ.2533 เป็นร้อยละ 48.88 ในปีพ.ศ.2537 ส่วนการใส่ฟันปลอมบางส่วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.01 ในปีพ.ศ. 2533 เป็นร้อยละ 50.00 ในปีพ.ศ.2537 แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วย สูงอายุมีแนวโน้มของการมีสันเหงือกว่างลดลงแต่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่มากขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.22.Special.1
First Page
61
Last Page
67
Recommended Citation
เตชะกัมพุช, เพ็ชรา; อนุสสรนิติสาร, สุภิตา; เอี่ยมจิระกุล, พันธิรา; and วชิรธนิต, รักงาม
(1999)
"แนวโน้มความต้องการการบําบัดรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยสูงอายุไทย : 2533-2537,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 22:
Iss.
0, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.22.Special.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol22/iss0/1