Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1998-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูผลการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟันหลาย ๆ รอยโรคด้วยวิธี จีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้น และเปรียบเทียบผลการใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว กับใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วยในเวลา 6 เดือน วัสดุและวิธีการ ผู้ร่วมโครงการเป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ หญิง 4 คน ซึ่งได้รับการรักษาเบื้องต้น แล้วยังมีรอยโรคปริทันต์ที่มีความลึกของร่องลึกปริทันต์ เท่ากับหรือมากกว่า 5 มม. ในทั้งสองข้างของขากรรไกร เดียวกัน 10 ตําแหน่ง เลือกการรักษาด้วยการใช้แผ่นยางกันน้ําลายอย่างเดียว 5 ตําแหน่ง จํานวน 19 รอยโรค และใช้แผ่นยางกันน้ําลายร่วมกับการปลูกกระดูก 5 ตําแหน่ง จํานวน 32 รอยโรค โดยการสุ่ม วัดค่าทางคลินิกคือ ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ระดับการรุ่นของเหงือกและการถ่ายภาพรังสีโดย ทําการบันทึก ก่อนการรักษา และหลังการรักษา 3 เดือน และ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Paired t-test ใน กลุ่มเดียวกัน และ Unpaired t-test ในระหว่างกลุ่มที่ P = 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์และระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ที่ 3 เดือน และ 6 เดือน ส่วนเหงือกรุ่นจะเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย และระดับความสูงของกระดูกเพิ่มขึ้นเมื่อตรวจดูทาง x-ray ซึ่งผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีลักษณะเช่นเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติสรุป สรุปได้ว่าแผ่นยางกันน้ําลายสามารถใช้ เป็นแผ่นกั้นในขบวนการ จีทีอาร์ และให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันระหว่างใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นอย่างเดียวหรือใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.21.3.6
First Page
193
Last Page
202
Recommended Citation
สุคนธ์พันธ์, ชนกพรรณ and หงษ์ประสงค์, นวลฉวี
(1998)
"การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลาย เป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 21:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.21.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol21/iss3/6