Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1998-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ วัสดุและวิธีการ ข้อมูลในการศึกษาวิจัยนี้ ได้จากการสํารวจคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1,102 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลระดับความรู้สึกเป็นสุขและสถานภาพในช่องปากที่ได้ จากการประเมินด้วยตนเองของผู้สูงอายุกระทําการตรวจสภาวะช่องปาก เพื่อบันทึกลักษณะการใช้งานของฟัน โรค ฟันผุ โรคปริทันต์ อนามัยของช่องปาก การใส่ฟันปลอม รวมถึงแผลหรือรอยโรคอื่นๆ ของเนื้อเยื่ออ่อนภายใน ช่องปากประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทยเพื่อควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่ ผล หลังจากที่ได้ควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่แล้ว พบว่าปัจจัยในช่องปากที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับ ความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุมีดังนี้ ปัญหาการเคี้ยว ปัญหากลิ่นปาก ปัญหาเกี่ยวกับฟันปลอม จํานวนฟันปลอมที่ใส่ จํานวนฟันโยกใช้งานไม่ได้ และการมีฟันผุที่รากฟัน สําหรับปัจจัยภายนอกช่องปากที่มีความสัมพันธ์ด้วย ได้แก่ อายุ อาชีพค้าขาย รายได้ และการมีความผิดปกติทางร่างกาย สรุป สถานภาพในช่องปากที่มีบทบาทต่อการใช้งานในการดํารงชีวิตประจําวันมีผลกระทบต่อความรู้สึกเป็นสุขใน ผู้สูงอายุ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.21.3.3
First Page
167
Last Page
176
Recommended Citation
พิบูลย์โรจน์, ประกล; โห้สงวน, ชาญชัย; and เวชวิธี, วรางคณา
(1998)
"สถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 21:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.21.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol21/iss3/3