Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1998-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการยึดอยู่ (Retention) และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน (Marginal seating) เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดซิงก์ฟอสเฟต (Zinc phosphate cement) ซีเมนต์ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass ionomer cement) และซีเมนต์ชนิดเรซิน (Resin cement) เป็นตัวยึดครอบฟัน วัสดุและวิธีการ แบ่งฟันกรามน้อย 30 ซี่ ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ กรอแต่งฟันแต่ละซี่ให้มีลักษณะ เหมือนกันโดยควบคุม ความสูง พื้นที่หน้าตัด และความเอียงของผนังตามแกน (Axial walls) ด้วยหัวกรอและ เครื่องควบคุมความขนาน (Milling machine) พิมพ์ฟันซี่ที่กรอแต่งมาทําครอบฟันด้วยโลหะเงินผสมเพลลิเดียม วัด ความสูงของครอบฟันโดยใช้เครื่อง Digimatic Indicator ยึดครอบฟันโลหะด้วยซีเมนต์ชนิดต่างกัน โดยกลุ่มที่ 1 ใช้ซิงก์ฟอสเฟต กลุ่มที่ 2 ใช้ กลาสไอโอโนเมอร์ และกลุ่มที่ 3 ใช้เรซิน วัดความสูงของครอบฟันหลังยึดด้วยซีเมนต์ และวัดแรงดึงสูงสุดที่ทําให้ครอบฟันหลุดจากตัวฟันด้วยเครื่อง Lloyd universal testing machine ผลการทดลอง ค่าเฉลี่ยความแตกต่างความสูงของครอบฟันก่อนและหลังซีเมนต์ (ไมโครเมตร) กลุ่มที่ 1 = 36.0 = 16.6 กลุ่มที่ 2 = 14.7 + 7.4 กลุ่มที่ 3 = 45.5 + 21.3 ค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุด (นิวตัน) กลุ่มที่ 1 = 343.98 + 46.21 กลุ่มที่ 2 = 482.0 + 33.08 กลุ่มที่ 3 = 522.88 + 21.72 จากการใช้ค่าสถิติ ANOVA และ Tukey's HSD Test พบว่า ซีเมนต์ทั้ง 3 ชนิดให้ค่าแรงดึงแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ไม่พบความ แตกต่างของความแนบบริเวณขอบของครอบฟันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ระหว่างซีเมนต์ชนิดซิงก์ฟอสเฟต และชนิดเรซิน ที่ P < 0.05 สรุป ซีเมนต์ชนิดเรซินให้ค่าแรงยึดอยู่ดีที่สุด รองลงมาคือซีเมนต์ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ และซิงก์ฟอสเฟต ตามลําดับ ความแนบบริเวณขอบของครอบฟันที่มีต่อตัวฟันจากมากไปน้อยคือ ซีเมนต์ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ ซิงก์ฟอสเฟต และเรซิน ตามลำดับ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.21.3.2
First Page
157
Last Page
166
Recommended Citation
ตันติประวรรณ, มรกต
(1998)
"การยึดอยู่ และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดต่างกัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 21:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.21.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol21/iss3/2