Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1998-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน โดยในส่วนแรกทําขึ้นเพื่อศึกษาว่าการเพิ่มขึ้นของการสร้างไฟโบรเนกทิน โดยเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ในสภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ จําเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างเซลล์กับไฮดรอกซีอาปาไทต์หรือไม่ และในส่วนที่สอง เราทําการศึกษาถึงผลของการเพิ่มของแคลเซียมไอออน ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีต่อการสร้างไฟโบรเนกทิน วัสดุและวิธีการ เราได้ทําการเลี้ยงเซลล์ในสภาวะต่าง ๆ คือ 1 สภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ 2 เลี้ยงในอาหาร เลี้ยงเซลล์ที่แช่ไฮดรอกซีอาปาไทต์ และ 3 เติมสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 5 มิลลิโมลาร์ หรือ อีจี ทีเอ 1 มิลลิโมลาร์ หรือ ไอโอโนฟอร์ 500 นาโนโมลาร์ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วทําการวิเคราะห์ปริมาณไฟโบรเนกบินโดยเทคนิก เวสเทอร์นอนาไลซิส ผลการศึกษา เซลล์ที่เลี้ยงในสภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ หรือในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่แช่ไฮดรอกซีอาปาไทต์ จะสร้างไฟโบรเนกทินเพิ่มขึ้น 1.5 และ 1.9 เท่าตามลําดับ เซลล์ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่เติมสารละลายแคลเซียม คลอไรด์ จะสร้างไฟโบรเนกทินเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1.5 เท่า เช่นเดียวกับเซลล์ที่เลี้ยงในแคลเซียมไอโอโนฟอร์ ใน ขณะที่สารละลายอีจีทีเอจะทําให้การสร้างไฟโบรเนกทินลดลง สรุป การตอบสนองของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ต่อเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์โดยการเพิ่มการสร้างไฟโบรเนกบินไม่จําเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างเซลล์กับเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ แต่เกิดจากสารที่ละลายออกจากไฮดรอกซีอาปาไทต์ นอกจากนี้ การสร้างไฟโบรเนกทินยังเพิ่มขึ้นในสภาวะที่มีแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์มากขึ้น ดังนั้นผล ของการกระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินของไฮดรอกซีอาปาไทต์น่าจะเกิดจากการละลายของแคลเซียมไอออนจากไฮดรอกซีอาปาไทต์และทําให้ระดับของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์เพิ่มสูงขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.21.2.1
First Page
65
Last Page
73
Recommended Citation
ดรงค์สุวรรณ, ทัศนีย์ and ภวสันต์, ประสิทธิ์
(1998)
"การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์กระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 21:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.21.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol21/iss2/1