•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1998-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทางคลินิกถึงอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบและสาเหตุที่ทําให้เกิดภายหลังการถอนฟัน ในผู้ป่วยคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มารับการถอนฟันที่ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 2 ปี วัสดุและวิธีการ ศึกษาจากผู้ป่วย 912 คน ที่มารับการถอนฟันทั้งฟันธรรมดาและฟันคุด บันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่มี อาการปวดร้าวรุนแรงอย่างต่อเนื่องภายหลังการถอนฟัน ตรวจ และให้การวินิจฉัยว่าเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบหรือไม่ นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติต่อไป ผลการศึกษา พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ 2.8% ในการถอนฟัน 1181 ซี่ จากผู้ป่วย 912 คน พบว่า อุบัติการการเกิดสูงสุด ในช่วงอายุ 20-29 ปีของทั้งสองเพศ คิดเป็น 43% พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ ในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ความชุกในการเกิดกระดูก และแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเบ้าฟันอักเสบพบภายหลังการถอนฟันยากมากกว่าการถอนฟันธรรมดา (p<0.05) พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบในขากรรไกรล่างมากกว่าในขากรรไกรบนคิดเป็น 90% และ 10% ตามลําดับพบว่าส่วนใหญ่เกิดภายหลังการถอนฟันคุด 60.6% และเป็นฟันคุดชนิดที่ไม่มีฝาเหงือกอักเสบมาก ที่สุดคิดเป็น 48.5% และพบว่าจะเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบในวันที่สองภายหลังการถอนฟันมากที่สุดคิดเป็น 85% อาการปวดจะหายไปหลังจากได้รับการรักษา 2-4 ครั้ง สรุป พบว่าการถอนฟันยากซึ่งทําให้เกิดการบอบช้ํา (Trama) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบและ พบด้วยว่าการติดเชื้อ (Infection) ก็เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งด้วย ซึ่งผลที่ได้นี้สนับสนุนงานวิจัยของผู้อื่นที่เสนอ ไว้ในคำนำ

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.21.1.3

First Page

19

Last Page

29

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.