Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1997-09-01
Abstract
ในการศึกษาครั้งนี้ เราพบว่าเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อของโพรงฟันสามารถสร้างเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส ซึ่งแสดงถึงความสามารถของเซลล์เหล่านี้ในการเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์คล้ายเซลล์สร้างเนื้อฟันได้หากได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม นอกจากนี้ เรายังพบว่าเซลล์สร้างเส้นใยจากโพรงฟัน สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วย 1,25 ไดไฮดรอกซีไวตามินดี 3 โดยการเพิ่มค่าการทํางานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทศถึง 2 เท่าภายในเวลา 2 วัน แสดงให้เห็นว่า สารตัวนี้น่าที่จะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพไปทําหน้าที่เฉพาะอย่างของเซลล์จากโพรงฟัน และเมื่อเราทําการกระตุ้นเซลล์ชนิดนี้ด้วย 1,25 ไดไฮดรอกซีไวตามินดี 3 และทรานส์ฟอร์มมิ่งโกรทแฟกเตอร์เบตาพร้อม ๆ กัน ผลปรากฏว่าค่าการทํางานของเอนไซม์นี้ยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 10 เท่าในเวลา 3 วัน โดยที่การกระตุ้นเซลล์ด้วยทรานส์ฟอร์มมิงโกรทแฟกเตอร์เบตาเพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสแต่อย่างไร ซึ่งจากผลการทดลองทั้งหมดนี้ ได้บ่งชี้ถึงคความเป็นไปได้ในการที่สารทั้งสองตัวนี้จะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสร้างเนื้อฟันโดยการควบคุมการเปลี่ยนสภาพไปทําหน้าที่เฉพาะอย่างของเซลล์สร้างเส้นใยในโพรงฟัน
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.20.3.5
First Page
173
Last Page
182
Recommended Citation
ภวสันต์, ประสิทธิ์ and สำเร็จกาญจนกิจ, ปิยมาศ
(1997)
"การกระตุ้นการสร้างเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสในเซลล์สร้างเส้นใยจากโพรงฟันของมนุษย์ โดย 1,25 ไดไฮดรอกซีไวตามินดี 3 และทรานส์ฟอร์มมิงโกร๊ทแฟกเตอร์เบตา,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 20:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.20.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol20/iss3/5