•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1997-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ต้องการศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรมของคนไทย กลุ่มที่มารับบริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาของคณะทันแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาที่นํามาวิเคราะห์มีจํานวน 650 คน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี จนถึง 76 ปี ซึ่งได้มาใช้ บริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาและถูกสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้รับการแจกแบบสอบถามที่ประกอบด้วยคําถามด้านประชากรศาสตร์และคําถามของ The Corah's Dental Anxiety Scale ผลการศึกษา พบว่า 10.6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรศึกษาไม่แสดงความกลัวและกังวลใจต่อการมาใช้บริการทันตกรรม, 30.7 เปอร์เซ็นต์ กลัวปานกลาง และ 8.8 เปอร์เซ็นต์ กลัวมากจนถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของคะแนนความกลัว และ กังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรม (DAS) เท่ากับ 8.30 13.24 เพศหญิงมีความกลัวและกังวลใจมากกว่าเพศ ชาย คนหนุ่มสาวและวัยรุ่นมีความกลัวมากกว่าผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดจากการได้เคยใช้บริการทันตกรรมครั้งแรก จะมีผลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ (p<0.001) สรุป 1. ระดับความกลัวและกังวลใจของประชากรศึกษากลุ่มนี้เท่ากับ 8.3043.24 2. อายุ, เพศ,ประสบการณ์ความเจ็บปวดจากการรับบริการทันตกรรมครั้งแรกมีผลต่อความกลัวและกังวลใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.20.3.1

First Page

147

Last Page

152

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.