Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1997-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์ มีจุดประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพในการอุดคลองรากฟันแบบเทอร์มาฟิลเทคนิคกับแลทเทอรัลคอนเดนเซซัน วัสดุและวิธีการ โดยนําฟันกรามน้อยที่มีรากตรงรากเดียวจํานวน 24 ซี่ มาขยายคลองรากฟันโดยวิธีสเต็ปแบค ด้วยไฟล์ชนิดเค ฟันที่เลือกใช้ในการทดลองจะมีความยาวในการทํางานและความกว้างของรูเปิดปลายรากฟันที่ ใกล้เคียงกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง ≤ 0.02 มม.) ฟันจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกอุดด้วยวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชั่น กลุ่มที่สองอุดด้วยเทอร์มาฟิลเทคนิค โดยมีกลุ่มควบคุมบวกและกลุ่มควบคุมลบ กลุ่มละ 2 ซี่ ผลการทดลองและสรุป จากผลการทดลองใช้ x2 ทดสอบการไหลเกินรูเปิดปลายรากฟันของซีลเลอร์และกัตตา เปอร์ชา พบว่าการอุดด้วยวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชันกับเทอร์มาฟิลเทคนิคมีการไหลเกินรูเปิดปลายรากฟันไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) และเมื่อใช้ t-test ทดสอบคุณภาพของภาพถ่ายรังสีในแนวด้านใกล้กลาง-ไกลกลาง และด้านใกล้แก้ม ด้านใกล้ลิ้น ระดับการซึมผ่านของสีที่รูเปิดปลายรากฟันโดยดูผ่านกล้องสเตอริโอไมโครสโคปและ เวลาที่ใช้ในการอุด พบว่าคุณภาพของภาพถ่ายรังสีและระดับการซึมผ่านของสีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) ระหว่างการอุดด้วยวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชันกับเทอร์มาฟิลเทคนิค แต่เวลาที่ใช้ในการอุดด้วยเทอร์มาฟิล เทคนิค (2.72 min) น้อยกว่าแลทเทอรัลคอนเดนเซชัน (9.97 min) อย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.05) จากผลการทดลองและการคํานวณค่าทางสถิติจึงสรุปได้ว่า เทอร์มาฟิลเทคนิคเป็นวิธีการอุดคลองรากฟันที่ใช้เวลาน้อยกว่าและมีคุณภาพของการขุดคลองรากฟันไม่แตกต่างจากวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชันในคลองรากตรงรากเดียว
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.20.2.1
First Page
65
Last Page
72
Recommended Citation
พาณิชย์วิสัย, ปิยาณี; ศรีประไหม, อภิรดี; and คล้ายมุข, รติมา
(1997)
"การเปรียบเทียบคุณภาพในการอุดคลองรากฟันแบบเทอร์มาฟิลเทคนิคกับ แลทเทอรัลคอนเดนเซชัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 20:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.20.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol20/iss2/1