Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1979-09-01
Abstract
ได้ทําการวัดการตอบสนองของประสาทฟันในเด็กจากโรงเรียน 2 แห่ง โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ตามอายุตั้งแต่ 7-13 ปี พบว่าค่าเฉลี่ยของการตอบสนองของประสาทฟันหน้าซี่แรกของเด็กในแต่ละกลุ่มอายุ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารตะกั่ว ส่วนมากมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กกลุ่มเปรียบเทียบ ยกเว้นกลุ่มเด็กอายุ 7 ปี ซึ่งมีจํานวนของเด็กในกลุ่มเปรียบเทียบน้อยมาก และกลุ่มเด็กอายุ 13 ปี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของการตอบสนองเกือบเท่ากัน สําหรับการตอบสนองของประสาทฟันในเด็กหญิงและเด็กชายพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน และฟันที่ใหญ่ก็ไม่จําเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าฟันซี่เล็กเสมอไป ค่าของการตอบสนองของประสาทฟันทุกซี่พบว่าอยู่ในช่วงจาก 0.5 ถึง 2.5 ค่าที่ได้ดีที่สุดได้แก่ 1.5 การตอบสนองของประสาทฟัน จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และแต่ละซี่ในบุคคลเดียวกัน
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.2.3.3
First Page
155
Last Page
164
Recommended Citation
บุญภิรักษ์, นารี; สุตรา, สิริมา; เมธาธราธิป, ดอลลี่; ตันติวิภาวิน, วสันต์; and ลิมพะสุต, เสงี่ยม
(1979)
"การตอบสนองของประสาทฟันของเด็กที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารตะกั่วเป็นพิษ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 2:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.2.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol2/iss3/3