Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1996-05-01
Abstract
รายงานผู้ป่วยฉบับนี้กล่าวถึง การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยใช้การบูรณะชั่วคราวชนิดติดแน่นในผู้ป่วยชายอายุ 21 ปี เป็นโรค amelogenesis imperfecta ซึ่งสูญเสียเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ทางด้านบดเคี้ยวไปค่อนข้างมาก รวมทั้งสภาพเคลือบฟันที่เหลืออยู่รอบ ๆ ตัวฟันบาง และไม่แข็งแรง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้ป่วยได้รับการรักษาการสึกกร่อนทางด้านบดเคี้ยว โดยใช้วัสดุอุดฟันทั้ง อะมัลกัม คอมโพสิต และกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ เพื่อคงสภาพมิติแนวดิ่งขณะสบฟันให้คงที่ และเพื่อรอเวลาให้โพรงเนื้อเยื่อฟันมีขนาดเหมาะสมที่จะสามารถครอบฟันถาวรได้ ทั้งนี้การทําครอบฟันในคนไข้รายนี้จําเป็นต้องเพิ่มความสูงในแนวดิ่ง เพื่อให้มีเนื้อที่ทางด้านบดเคี้ยวสําหรับครอบฟัน และความยาวของตัวฟันที่เหมาะสมในการยึดอยู่ (Retention) ของครอบฟัน วิธีการรักษาใช้อุดครอบ ด้วยคอมโพสิต (Composite onlay) รวมกับซีเมนต์ชนิดเรซิน (Resin cement) ยึดติดแน่นบนตัวฟัน เพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อบดเคี้ยว ข้อต่อขากรรไกร และฟันธรรมชาติของผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ และผู้ป่วยสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ตามปรกติภายหลังเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน จากนั้นจึงทําการบูรณะครอบฟันถาวรต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.16
First Page
141
Last Page
152
Recommended Citation
ตันติประวรรณ, มรกต
(1996)
"การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยการบูรณะชั่วคราว ชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 19:
Iss.
2, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.16
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol19/iss2/9