•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1996-05-01

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะโรคฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่าง การดูแลอนามัยในช่องปาก ของเด็กนักเรียนประถมปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 592 คน จาก 18 โรงเรียนพบว่ามีอัตราชุกของโรคฟันผุร้อยละ 82.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดเป็นซี่ ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean DMFT + SD) = 2.84 ± 2.21 จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่างมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ จํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียนและความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง (r = 0.5730, 0.1629 ที่ p< .001 ตามลําดับ) ค่าฟันผุถอนอุดเป็นด้าน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับจํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียน และจํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = ที่ p < 0.05 ตามลําดับ) คะแนนการแปรงฟันมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับความถี่ของการบริโภคอาหารว่างและ จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = 0.1036, -0.0918 ที่ p<0.05 ตามลําดับ) เมื่อจําแนกนักเรียนตามกลุ่มการแปรงฟัน และความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง พบว่า นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันต่ำที่สุดและความถี่ ของการบริโภคอาหารว่างสูงที่สุดมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดสูงที่สุด (mean DMFS = 6.18) ในขณะที่นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันสูงที่สุดและความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดต่ำที่สุด (mean DMFS = 3.50) แสดงว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างสูงและคะแนนการแปรงฟันต่ำ มีแนวโน้มของการเป็นโรคฟันผุสูงกว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำและคะแนนการแปรงฟันสูง และควรทําการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เพื่อให้ได้ผลชัดเจนมากขึ้น

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.12

First Page

103

Last Page

114

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.