Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1996-05-01
Abstract
ควบคุมความขนาน ให้มีลักษณะเหมือนกัน คือความสูง 3 มิลลิเมตร หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน แบ่งฟันที่กรอแต่งแล้วออกเป็นสี่กลุ่ม โดยกลุ่ม A ใช้ Die-spacer ความหนา 2 ชั้นเพื่อให้เป็นที่อยู่ของซีเมนต์ กลุ่ม B กลุ่ม C และกลุ่ม D ใช้ Die- spacer ความหนา 4 ชั้น 6 ชั้น และ 8 ชั้นตามลําดับ ครอบฟันโลหะซึ่งทําจากโลหะผสมเงินกับเพลลาเดียมทั้ง 52 ชิ้น ถูกนํามายึดติดบนตัวฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดแคปซูล ในแต่ละกลุ่มนําชิ้นตัวอย่าง 3 ชิ้น ไปหาค่าเฉลี่ยความหนาของซีเมนต์ และนําชิ้นตัวอย่างอีก 10 ชิ้น ไปวัดความแนบบริเวณขอบของครอบฟันก่อนและหลังยึดด้วยซีเมนต์ โดยใช้เครื่อง Digimatic indicator บันทึกค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน วัดแรงดึงสูงสุดที่ใช้ดึงครอบฟันออกจากตัวฟัน ด้วยเครื่อง Lloyd Universal Testing Machine ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน (ไมโครเมตร) ของกลุ่ม A = 24.33±14.87, B = 17.89±8.10, C = 13.40±8.74 และ D = 10.80±7.06 แรงดึงสูงสุด (นิวตัน) ของกลุ่ม A = 404.87±80.03, B = 387.57±126.48, C = 360.79±75.64 และ D=452.11±103.77 แล้ววิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ANOVA และ Duncan Test และได้ผลว่าแรงดึงสูงสุดของแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 แต่ความแนบ บริเวณขอบของครอบฟันระหว่างกลุ่มที่ทา Die-spacer หนา 2 ชั้นกับหนา 8 ชั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 จึงสรุปได้ว่าความหนาของซีเมนต์ที่ได้จากการใช้ Die-spacer 2-8 ชั้นให้ค่าแรงยึดติดของครอบฟันไม่แตกต่างกัน ในขณะที่การเพิ่มความหนาของ Die-spacer ช่วยครอบฟันที่ยึดด้วยซีเมนต์ให้มี ความแนบสนิทกับตัวฟันมากขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.10
First Page
81
Last Page
93
Recommended Citation
ตันติประวรรณ, มรกต; ผิวเรือง, จันทร์ผล; and รักษ์สันติกุล, พุทธกรอง
(1996)
"ความหนาของซีเมนต์ต่อการยึดติดและความแนบสนิทบริเวณขอบของครอบฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 19:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol19/iss2/3