Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1996-05-01
Abstract
การบูรณะฟันแควิตีแบบคลาสไฟว์ด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน และ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ มักจะประสบปัญหารอยรั่วตามขอบและนําไปสู่การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะต่อไป การศึกษานี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุบูรณะฟัน 2 ชนิด คือ คอมโพสิตเรซินซึ่งใช้ร่วมกับเดนทีนแอดฮีซิฟ และกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ถึงความสามารถของวัสดุในการต้านทานการเกิดรอยผุซ้ำโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง โดยนําฟันกรามน้อยจํานวน 20 ซี่มาเตรียมแควิตี้แบบคลาสไฟว์ขนาด 2x3x1.5 มม แบ่งฟันเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 ซี่ กลุ่มแรก บูรณะด้วยคอมโพสิตเรซินยี่ห้อ Z-100 (3M) ร่วมกับเดนทีนแอดฮีซิฟ AllBond 2 (Bisco) กลุ่มหลังบูรณะด้วย กลาสไอโอโนเมอร์ยี่ห้อ Vitremer (3M) ตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต แล้วนําฟันทั้งหมดมาทายาทาเล็บโดยรอบโดยเว้นห่างจากขอบวัสดุ 1 มม. โดยรอบ หุ้มปลายรากด้วยขี้ผึ้งแล้วนําฟันทั้งหมดแช่ในน้ำยา Ten Cate Demineralizing Solution เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนํามาล้างให้สะอาดแล้วตัดฟันตามแกนยาวซีละ 3 ส่วน นํามาตรวจหารอยผุที่เกิดขึ้นโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงโพลาไรซ์ วัดความลึกหน่วยเป็นไมครอน จากผลการทดลองพบว่า กลาสไอโอโนเมอร์สามารถต้านทานการผุที่ผิวนอกของฟันได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับคอมโพสิตเรซิน และไม่พบรอยผุต่อที่ผนังแควิตในทั้งสองกลุ่ม ดังนั้น กลาสไอโอโนเมอร์อาจจะเหมาะสําหรับ สภาวะที่มีอัตราเสี่ยงต่อฟันผุสูง ขณะที่คอมโพสิตเรซินเหมาะสําหรับการบูรณะที่ต้องการความแข็งแรงและสวยงาม
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.8
First Page
63
Last Page
72
Recommended Citation
ศรีสวัสดิ์, ศิริวิมล; ดำรงเกียรติเวช, ปรารถนา; and สิทธิโชค, รักษ์รัฐ
(1996)
"การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะคอฟัน: การศึกษาโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 19:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol19/iss2/1