Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1995-09-01
Abstract
การศึกษานี้มุ่งที่จะหาความสัมพันธ์ของระยะเวลาที่ทิ้งไว้ตั้งแต่เริ่มผสม กับกําลังตัดขวางที่เปลี่ยนแปลงไปของอะคริลิกเรซิน ชนิดบ่มเองสําหรับใช้ทําถาดพิมพ์ปาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่ ฟอร์มาเทรย์ (Formatray), สเปเชียล เทรย์ (Special Tray) และ รูทิเนียม อไครย์ เทรย์ (Ruthinium Acry Tray) โดยสร้างชิ้นตัวอย่างตามมาตรฐาน ไอเอสโอ หมายเลข อาร์ 1567 (ISO R1567) จํานวนยี่ห้อละ 30 ชิ้น โดยแบ่งแต่ละยี่ห้อออกเป็นยี่ห้อละ 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 ชิ้น ทิ้งไว้ในอากาศ ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1, 7 และ 14 วันหลังจากเริ่มผสม เมื่อครบกําหนดเวลานําไป ทดสอบด้วยวิธีการตัด 3 จุด (3-Point Bending) ด้วยเครื่องลอยด์ ยูนิเวอร์ซัล เทสติง (Lloyd Universal Testing Machine) แล้วนําค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการถูกดัดงอของวัสดุก่อนหัก นําไปวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบด้วย ดันแคน นิวมัลติเพิล เรนจ์ (Duncan's new multiple range test) พบว่าค่ากําลังตัดขวางจะสูงขึ้น เมื่อทิ้งวัสดุไว้นานขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบในระยะเวลาเดียวกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ค่าเฉลี่ยกําลังตัดขวาง ที่ 1 วัน และ 7 วัน ของ สเปเชียล เทรย์ สูงที่สุด รองลงมาคือ ฟอร์มาเทรย์ และ รูทิเนียม อไครย์ เทรย์ ตามลําดับ ส่วนที่ 14 วัน สเปเชียล เทรย์ สูงที่สุด รองลงมาคือ รูทิเนียม อไครย์ เทรย์ และ ฟอร์มาเทรย์ ตามลําดับ สเปเชียล เทรย์ และ ฟอร์มาเทรย์ ให้ค่ากําลังตัดขวางที่สูงขึ้นเมื่อทิ้งไว้ 7 วัน ส่วนรูทิเนียม อไครย์ เทรย์ จะมีค่ากําลังตัดขวางสูงขึ้นเมื่อทิ้งไว้ 14 วัน ส่วนค่าความสามารถในการถูกดัดงอก่อนหักเรียงจากมากไปหาน้อย คือ สเปเชียล เทรย์, รูทิเนียม อไครย์ เทรย์ และ ฟอร์มาเทรย์ ตามลําดับ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.18.3.6
First Page
199
Last Page
207
Recommended Citation
เบญจฤทธิ์, สมภพ; พันธุ์โกศล, ปิยวัฒน์; จรูญภัทรพงษ์, กนกวรรณ; and ผ่องรัศมีโรจน์, ลัดดา
(1995)
"กําลังตัดขวาง และความสามารถในการถูกดัดงอของอะคริลิก เรซิน ชนิดบ่มด้วยตัวเองสําหรับใช้ทําถาดพิมพ์ปาก,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 18:
Iss.
3, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.18.3.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol18/iss3/6