•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1995-09-01

Abstract

ปัจจุบันการดูแลรักษาผู้ป่วยเทมโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ (TMD) นิยมใช้วิธีอนุรักษ์และผันกลับได้ (conservative and reversible treatment) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาผู้ป่วย TMD ที่เคยรับการรักษาด้วยออกคลูซอลสปลินต์ชนิดเรียบจากคลินิกทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2537 การสํารวจนี้ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ส่งไปให้ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษานานกว่า 6 เดือน มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 200 ราย (อัตราตอบแบบสอบถามกลับคืน ร้อยละ 50.9) แยกเป็นเพศหญิงร้อยละ 77.0 และเพศชายร้อยละ 23.0 ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มรักษาจนถึงเมื่อส่งแบบสอบถาม 30.3 ± 13.4 เดือน เมื่อจําแนกผลการรักษาตามอาการสําคัญของผู้ป่วยซึ่งได้แก่ (1) อาการปวด 108 ราย (2) ความผิดปกติในการทําหน้าที่ 56 ราย (3) อาการปวดร่วมกับความผิดปกติในการทําหน้าที่ 36 ราย พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเล็กน้อยหรือดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจหลังจากได้รับการรักษา ร้อยละ 85.2, ร้อยละ 74.1 และร้อยละ 80.6 ตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์ผลโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์ พบว่าอาการสําคัญแต่ละกลุ่มดังกล่าวตอบสนองต่อการรักษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>.05) ผู้ป่วย (ร้อยละ 19.4) ประเมินประโยชน์ของ ออกคลูซอลสปลินต์ในระดับ 8 มากกว่าระดับอื่น (จากสเกล 0 ถึง 10) ในขณะติดตามผลพบว่าอาการที่ยังคงปรากฏในผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ การมีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (ร้อยละ 62.5) ผลการสํารวจแสดงว่าทั้งอาการปวดและการทําหน้าที่ผิดปกติของระบบการบดเคี้ยวตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยการใช้ออกคลูซอลสปลินต์เป็นหลัก ดังนั้นจึงสนับสนุนการเลือกใช้วิธีอนุรักษ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย TMD ในเบื้องต้น

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.18.3.4

First Page

177

Last Page

189

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.