Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1995-09-01
Abstract
ปัจจุบันการดูแลรักษาผู้ป่วยเทมโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ (TMD) นิยมใช้วิธีอนุรักษ์และผันกลับได้ (conservative and reversible treatment) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาผู้ป่วย TMD ที่เคยรับการรักษาด้วยออกคลูซอลสปลินต์ชนิดเรียบจากคลินิกทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2537 การสํารวจนี้ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ส่งไปให้ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษานานกว่า 6 เดือน มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 200 ราย (อัตราตอบแบบสอบถามกลับคืน ร้อยละ 50.9) แยกเป็นเพศหญิงร้อยละ 77.0 และเพศชายร้อยละ 23.0 ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มรักษาจนถึงเมื่อส่งแบบสอบถาม 30.3 ± 13.4 เดือน เมื่อจําแนกผลการรักษาตามอาการสําคัญของผู้ป่วยซึ่งได้แก่ (1) อาการปวด 108 ราย (2) ความผิดปกติในการทําหน้าที่ 56 ราย (3) อาการปวดร่วมกับความผิดปกติในการทําหน้าที่ 36 ราย พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเล็กน้อยหรือดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจหลังจากได้รับการรักษา ร้อยละ 85.2, ร้อยละ 74.1 และร้อยละ 80.6 ตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์ผลโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์ พบว่าอาการสําคัญแต่ละกลุ่มดังกล่าวตอบสนองต่อการรักษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>.05) ผู้ป่วย (ร้อยละ 19.4) ประเมินประโยชน์ของ ออกคลูซอลสปลินต์ในระดับ 8 มากกว่าระดับอื่น (จากสเกล 0 ถึง 10) ในขณะติดตามผลพบว่าอาการที่ยังคงปรากฏในผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ การมีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (ร้อยละ 62.5) ผลการสํารวจแสดงว่าทั้งอาการปวดและการทําหน้าที่ผิดปกติของระบบการบดเคี้ยวตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยการใช้ออกคลูซอลสปลินต์เป็นหลัก ดังนั้นจึงสนับสนุนการเลือกใช้วิธีอนุรักษ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย TMD ในเบื้องต้น
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.18.3.4
First Page
177
Last Page
189
Recommended Citation
วานิชชานนท์, พนมพร; สามไชย, สวิชญา; and ปรีชานุสรณ์, สุพัตรา
(1995)
"การประเมินผลการรักษาเทมโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ โดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 18:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.18.3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol18/iss3/4