•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1995-05-01

Abstract

เส้นใยอีลาสติคเป็นโครงสร้างเส้นใยที่ทําให้เกิดความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายจากการศึกษาโดยวิธีอิมมูโนฟลูออเรสเซนซ์โดยใช้แอนติบอดีเป็นตัวบ่งชี้เส้นใยอีลาสติค พบว่าในเหงือกปกติของคนมีปริมาณของเส้นใยอีลาสติคมากมายในส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อยึดต่อ การศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ ทรานสมิทชั่นในเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์ แสดงให้เห็นว่าเส้นใยอีลาสติคในเนื้อเยื่อทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกัน เส้นใยนี้ในเหงือกประกอบด้วยแกนกลางที่เป็นสารอสัณฐานล้อมรอบด้วยไมโครไฟบริลที่เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ แต่ในเอ็นยึดปริทันต์พบว่าเส้นใยอีลาสติกประกอบไปด้วยไมโครไฟบริลที่เรียงตัวขนานกันอย่างมีระเบียบโดยไม่มีสารอสัณฐาน เป็นแกน จากการใช้แอนติบอดีที่เฉพาะเจาะจงต่อเส้นใยอีลาสติคศึกษาในเอ็นยึดปริทันต์ พบว่าแอนติบอดีสามารถทําปฏิกิริยากับไมโครไฟบริลของเส้นใยออกซิททัลแลน ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีรายงานพบในเอ็นยึดปริทันต์ ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าไมโครไฟบริลของเส้นใยออกซิททัลแลนและเส้นใยอีลาสติคในเอ็นยึดปริทันต์ อาจเป็นชนิดเดียวกัน หรืออยู่ในตระกูลเดียวกัน มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน และเหมือนกับอีลาสติคไมโครไฟบริลที่พบในเนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกายด้วย

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.18.2.6

First Page

131

Last Page

142

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.