Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1995-01-01
Abstract
ไลเคน พลานัส เป็นรอยโรคเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน การใช้ยารักษาโรคทางระบบหลายชนิด สามารถกระตุ้นให้เกิดรอยโรคในช่องปากและผิวหนัง ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกและทางพยาธิวิทยาคล้ายไลเคน พลานัสได้ จากการศึกษาผู้ป่วยไลเคน พลานัส ในจํานวน 81 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาและไม่ได้รับยารักษาโรคทางระบบ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 41-60 ปี บริเวณที่ตรวจพบรอยโรคมากที่สุดคือบริเวณกระพุ้งแก้ม รองลงมาคือ เหงือกกับบริเวณรอยต่อระหว่างกระพุ้งแก้มกับเหงือกริมฝีปาก เพดานปาก ลิ้น และพื้นช่องปากตามลําดับ จากการเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาและไม่ได้รับยารักษาโรค พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคมีความสัมพันธ์กับชนิดของการเกิดไลเคน พลานัสในช่องปากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.025) คือผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคจะมีโอกาสเป็น ไลเคน พลานัส ชนิดอีโรซีฟ มากกว่าชนิดไม่อีโรซีฟ โดยพบว่าผู้ป่วยมักใช้ยากลุ่ม antihypertensive มากที่สุด รองลงมาคือ NSAIDS, hypoglycemic และยาอื่น ๆ ตามลําดับ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.18.1.3
First Page
21
Last Page
32
Recommended Citation
ทองประสม, กอบกาญจน์; วงศ์รุ่งโรจน์กิจ, กนิษฐ์; and ศรีวงศ์จรรยา, มนวิภา
(1995)
"ยาที่กระตุ้นให้เกิดรอยโรคคล้ายไลเคน พลานัส,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 18:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.18.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol18/iss1/3