Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1995-01-01
Abstract
ศึกษาถึงความเจ็บปวดจากวิธีการฉีดยาชาแบบอินฟิลเตรชันที่เพดานปากสามตําแหน่งจากประชากร 200 ราย พบว่าบริเวณส่วนหน้าของเพดานปาก การแทงเข็มฉีดยาให้แนวเข็มขนานกับแนวแกนของกระดูกเพดาน ความเจ็บปวดจะน้อยกว่าการแทงเข็มตั้งฉากกับแนวแกนของกระดูกเพดานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.05) บริเวณส่วนหลังของเพดานปาก การแทงเข็มฉีดยาให้แนวเข็มตั้งฉากกับแนวแกนของกระดูกเพดาน ความเจ็บปวดจะน้อยกว่าการแทงเข็มขนานกับแนวแกนของกระดูกเพดานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนบริเวณส่วนกลางของเพดานปากไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≥0.05) ระหว่างการแทงเข็มฉีดยาให้แนวเข็ม ขนานและตั้งฉากกับแนวแกนของกระดูกเพดาน การหันส่วนปาดลาดของปลายเข็มออกจากตัวฟัน ความเจ็บปวด จะมีความแตกต่างกันทางคลินิก โดยความเจ็บปวดจะน้อยกว่า คิดเป็นร้อยละ 36, 64 และ 56 ตามลําดับ เมื่อฉีดยาชาบริเวณเพดานปากตรงตําแหน่งปลายรากฟันของฟันตัดบนข้าง ฟันกรามน้อยบนที่ 1 และฟันกรามบน ซีที่ 1 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P ≥ 0.05)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.18.1.2
First Page
11
Last Page
19
Recommended Citation
ตั้งสุภูมิ, สุรินทร์
(1995)
"การฉีดยาชาที่เพดานปาก,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 18:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.18.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol18/iss1/2