Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1994-09-01
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงวิธีการตรวจเชื้อจากคลองรากฟันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าวิธีเดิมที่ปฏิบัติอยู่ในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยศึกษาการตรวจเชื้อจากคลองรากฟันซึ่งมีพยาธิสภาพที่ตรวจได้จากภาพถ่ายรังสีขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 4 มิลลิเมตรกลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มหนึ่งพยาธิสภาพมีขนาดมากกว่า 4 มิลลิเมตร การตรวจหาเชื้อจะเก็บเชื้อจากคลองรากฟันที่มีการประเมินทางคลินิกแล้วว่าพร้อมที่จะทําการอุดได้ โดยแบ่งเป็น 3 วิธี วิธีที่ 1 เป็นวิธีที่ปฏิบัติอยู่คือ ใช้แท่งกระดาษซับปลอดเชื้อเก็บเชื้อในคลองรากแล้วนําไปเพาะเลี้ยงเชื้อในบรรยากาศปรกติ วิธีที่ 2 คือใช้กระบอกฉีดทูเบอร์คูลินดูดและฉีดน้ำเกลือปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร ประมาณ 5 ครั้ง จากนั้นดูดน้ําเกลือกลับมา 0.05 มิลลิลิตร เพื่อนําไปเพาะเลี้ยงเชื้อ วิธีที่ 3 จะใช้แท่งกระดาษซับปลอดเชื้อซับน้ำเกลือที่เหลือในคลองรากจนแห้ง แล้วนําไปเพาะเลี้ยงเชื้อ วิธีที่ 2 และวิธีที่ 3 จะนํามาเพาะเลี้ยงเชื้อ ในบรรยากาศไร้ออกซิเจน จากการศึกษาพบว่าการตรวจเชื้อโดยวิธีที่ 3 มีแนวโน้มที่จะมีความไวสูงกว่าวิธีที่ 1 และ 2 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ จึงควรได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์สําหรับการตรวจเชื้อในคลองรากฟันต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.17.3.5
First Page
261
Last Page
269
Recommended Citation
ทวีบูรณ์, บุญนิตย์; กมลรุ่งวรากุล, รุ่งรวี; and ทวีบูรณ์, สร้อยศิริ
(1994)
"การพัฒนาวิธีการตรวจและเพาะเชื้อจากคลองรากฟัน,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 17:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.17.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol17/iss3/5