Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1993-09-01
Abstract
จากรายงานการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสภาวะโรคฟันผุในแต่ละพื้นที่ของประเทศ ไทย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงต้องการทราบสภาวะโรคฟันผุและการใช้ฟันปลอมของผู้ป่วยที่ใช้บริการของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในภาคใต้ของประเทศไทย ประชากรกลุ่มตัวอย่างอายุ 12 ปี 18 ปี 35-54 ปีและ 55 ปีขึ้นไป จํานวน 800 คน ซึ่งสุ่มมาจากผู้ป่วยกลุ่มงานทันตกรรมในโรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา และโรงพยาบาลปัตตานี กลุ่มอายุละ 200 คน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของแต่ละกลุ่มเท่ากับ 5.67, 8.61, 12.00 และ 18.68 ต่อคน ตามลําดับ สําหรับค่าเฉลี่ยของฟันที่ถอนของแต่ละกลุ่มแม้จะสูงถึง 0.16, 0.94, 5.85 และ 14.38 ที่ต่อคน แต่ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันปลอมที่ใส่ทดแทนค่อนข้างต่ำมาเพียง 0, 0.11, 0.91 และ 1.18 ต่อคน ตามลําดับเท่านั้น จากการเปรียบเทียบการใส่ฟันปลอมระหว่างบริเวณฟันหน้า และฟันหลังโดยการทดสอบสัดส่วน พบว่าสัดส่วน ของจํานวนฟันปลอมที่ใส่ต่อฟันที่ถอนไปของฟันหน้าสูงกว่าฟันหลังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้นใน บริเวณขากรรไกรล่างของกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น สรุปได้ว่าประชาชนกลุ่มนี้มีปัญหาด้านสุขภาพในช่องปากสูงมาก และมีความต้องการบริการทันตกรรมทั้งด้านการรักษา และฟื้นฟูสภาพโดยการใส่ฟันปลอมมากด้วย
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.16.3.5
First Page
203
Last Page
211
Recommended Citation
จันทรัตน์, สุนันท์ and ปัญญางาม, ยุทธนา
(1993)
"สภาวะโรคฟันผุและการใส่ฟันปลอมของผู้ป่วยทันตกรรม ในภาคใต้ของประเทศไทย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 16:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.16.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol16/iss3/5