Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1993-09-01
Abstract
ศึกษาผู้ป่วย OLP จํานวน 50 ราย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอีโรซีฟ และกลุ่ม ไม่อีโรซีฟ จากการตรวจทางคลินิก และการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 40-60 ปี ระยะเวลาของการเกิดโรคมีตั้งแต่ 4-168 เดือน บริเวณที่พบรอยโรคในช่องปากมากที่สุดคือ กระพุ้งแก้ม รองลงมาคือ เหงือก ลิ้น ริมฝีปาก เพดานปาก และพื้นช่องปาก ตามลําดับจากการเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มอีโรซีฟ และไม่อีโรซีฟ ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของเพศจํานวนผู้ป่วย ตําแหน่งที่พบ ระยะเวลาของการเกิดโรค นอกจากนี้ยังได้ทําการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัย ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคไลเคนพลานัส เช่น โรคของระบบ การแพ้ การใช้ยา วัสดุอุดฟัน ครอบฟัน และฟันปลอมชนิดถอดได้ พบว่าทั้งหมดนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไลเคนพลานัส ในช่องปากทั้งสองชนิดอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (P>0.05)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.16.3.2
First Page
171
Last Page
180
Recommended Citation
ทองประสม, กอบกาญจน์; ศุภประดิษฐ์, ดวงพร; and ภววรพันธุ์, นฤมล
(1993)
"การเปรียบเทียบปัจจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไลเคน-พลานัสในช่องปากชนิดอีโรซีฟและไม่อีโรซีฟ,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 16:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.16.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol16/iss3/2