•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1993-09-01

Abstract

ค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในการวิเคราะห์และทํานายโรคปริทันต์ เรดิโอวิสิโอกราฟฟี่ (อาร์วีจี) เป็นเครื่องมือถ่ายภาพรังสีในปาก ซึ่งให้ภาพโดยตรงบนจอสามารถขยายภาพให้ได้รายละเอียดมากขึ้น และสามารถต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บข้อมูลทางภาพรังสีไว้ใช้ในงานวิจัยต่อไปได้ด้วย ส่วนออโทเมตช์โพรบ เป็นเครื่องมือวัดร่องลึกปริทันต์ หรือค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า เป็นเครื่องมือที่วัดได้แม่นยํามากกว่าโพรบที่วัดด้วยมือธรรมดา ดังนั้นการทดลองนี้จึงต้องการตรวจสอบความแม่นยําในการวัดความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ด้วยภาพรังสีซึ่งถ่ายจากเครื่องอาร์วีจี เมื่อเปรียบเทียบกับการวัดด้วยออโทเมตด์โพรบ นอกปาก การทดลอง ทําโดยสร้างบล็อกฟันที่เรียงฟันกรามน้อยและกรามใหญ่เหมือนฟันในปาก 4 ซี่ บล็อกที่ใช้เป็นส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้กับปูนปลาสเตอร์ซึ่งให้ความทึบและเงาเหมือนกระดูกเมื่อถ่ายภาพรังสี สร้างรอยโรคของกระดูกที่ถูกทําลายเป็นร่องลึกทางด้านข้างของฟันจํานวน 20 รอยโรคในฟัน 5 บล็อก ถ่ายภาพรังสีด้วยอาร์วีจี และเก็บภาพรังสีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ออ่านค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป แล้ววัดค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ทั้งยี่สิบรอยโรคด้วยออโทเมตต์โพรบ นํามาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ที่ได้จากเครื่องมือทั้งสองชนิดด้วย paired-t test. พบว่า ค่าที่วัดได้ด้วยอาร์วีจีจะค่อนข้างสูงกว่าค่าที่วัดด้วยออโทเมตต์โพรบ แต่ค่าที่วัดได้ทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ จึงเห็นได้ว่า การใช้อาร์วีจีเก็บภาพรังสี และนํามาวัดค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์จะทําได้ผลแม่นยํา และสะดวกกว่าการใช้เครื่องมือชนิดอื่น นอกจากนั้นอาร์วีจียังมีประโยชน์เป็นสื่อความเข้าใจ และยอมรับของผู้ป่วยปริทันต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจนํามาใช้ในศัลยกรรมปริทันต์ หรือศัลยกรรมปลูกรากเทียมเพื่อดูรายละเอียดของกระดูกในบริเวณที่ทํางาน

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.16.3.1

First Page

165

Last Page

170

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.