Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1993-05-01
Abstract
โรคฟันผุเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ได้แก่ ฟัน จุลินทรีย์ และสภาพแวดล้อมภายในช่องปากที่เหมาะสม ซึ่งคุณสมบัติของน้ำลายก็เป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมภายในช่องปาก ดังนั้นงาน วิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติการกำจัดน้ำตาลกูลโคส (glucose clearance) และคุณสมบัติ ความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ําลาย (buffer capacity) ระหว่างกลุ่มที่มีฟังผุน้อย (low-caries group) และกลุ่มที่ มีฟันผุมาก (high-caries group) โดยสุ่มตัวอย่างแบบความบังเอิญตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ (purposive accidental sampling) จากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 19-22 ปี จํานวน 20 คน (หญิง 14 คน, ชาย 6 คน) แบ่งกลุ่มตามค่าดัชนีซี่ฟันผุถอนอุด (DMFT) ออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ มีฟันผุน้อย (DMFT <3) จำนวน 10 คน (หญิง 6 คน, ชาย 4 คน) และกลุ่มที่มีฟันผุมาก (DMFT > 8) จำนวน 10 คน (หญิง 8 คน, ชาย 2 คน) ทำการศึกษาคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ำลาย โดยไทเทรตตัวอย่างน้ำลายด้วยกรดไฮโดรคลอริก 0.05 นอร์มัล (normal, N) และศึกษาการกำจัดน้ำตาลกลูโคสของน้ำลายโดยวัดความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคส ในตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 1, 3, 5, 7, 9 และ 11 นาทีหลังจากอมสารละลายกลูโคส 50% นาน 2 นาที นําข้อมูล มาวิเคราะห์ทางสถิติหาความแตกต่างของคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์และการกำจัดน้ำตาลกลูโคสของน้ำลาย ด้วยการทดสอบค่าที (T-test) ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเฉลี่ยของกรดไฮโดรคลอริกที่ใช้ไทเทรตตัวอย่างน้ำลายจนมีสภาพ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 5 ในกลุ่มที่มีฟันผุน้อยเท่ากับ 0.860 มล. และในกลุ่มที่มีฟันผุมากเท่ากับ 0.704 มล. โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สําหรับการศึกษาการกำจัดน้ำตาลกลูโคส ของน้ำลายพบว่าค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของน้ำตาลกลูโคสในตัวอย่างน้ำลายของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีควา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ที่เวลา 3, 5 และ 7 นาที ในขณะที่เวลา 9 และ 11 นาที มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย และไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.16.2.2
First Page
101
Last Page
110
Recommended Citation
ปัญญางาม, ยุทธนา; แก้วสวาท, ดลฤดี; and อัจฉรานุกูล, อรพินธ์
(1993)
"การกำจัดน้ำตาลกลูโคส และคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ำลาย ในกลุ่มที่มีฟันผุมาก และกลุ่มที่มีฟันผุน้อย,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 16:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.16.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol16/iss2/2