•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1993-01-01

Abstract

อินไซซีฟแพบพิลลาเป็นตําแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ที่มีความสําคัญเป็นที่ยอมรับในการกําหนดตําแหน่งของฟันคู่หน้า จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาเพื่อหาข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อใช้เป็นการกําหนดตําแหน่งฟันหน้าของคนไทยในการทําฟันปลอม จากการศึกษาแบบหล่อสภาพช่องปากจํานวน 510 แบบ พบว่าอินไซซีฟแพบพิลลา มีรูปร่าง 7 แบบคือ แพร์ หยดน้ำ รูปไข่ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม กลม และรูปร่างไม่แน่นอน รูปแพร์ มีมากที่สุดถึง 32.75% จากการศึกษาแบบหล่อที่คัดแล้วจํานวน 360 แบบ ระยะจากจุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงปลายฟันคู่หน้ามีค่าเฉลี่ย 11.093 มม. และกําหนดใช้ระยะของจุดนี้ได้ตั้งแต่ 10.932 มม. ถึง 11.254 มม. ด้วยระดับความเชื่อมั่น 95% ระยะจากจุดสุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงจุดที่ยื่นที่สุดด้าน เลเบียลของฟันคู่หน้ามีค่าเฉลี่ย 12.114 มม. และกําหนดใช้ได้ตั้งแต่ 11.959 มม. ถึง 12.269 มม. ที่ระดับความ เชื่อมั่น 95% ระยะจุดสุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงแนวฟันเขี้ยวตัดกับเส้นกลางเพดานมีค่าเฉลี่ย 2.055 มม. ระยะจากเขี้ยวขวาถึงเขี้ยวซ้ายมีค่าเฉลี่ย 35.457 มม. โดยมีค่ากําหนดตั้งแต่ 35.246 มม. ถึง 35.667 มม. ภายใต้ระดับความเชื่อมั่น 95% ความสูงจากปลายฟันคู่หน้าถึงด้านท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลามีค่าเฉลี่ย 7.088 มม. และกําหนดค่าได้ตั้งแต่ 6.943 มม. ถึง 7.233 มม. ค่าที่ได้เหล่านี้สามารถหาความสัมพันธ์เป็นสมการได้เมื่อนําไปหาระยะต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยกําหนดแนวและความสูงของแท่งขี้ผึ้งที่ใช้เป็นแนวในการเรียงฟันหน้า

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.16.1.4

First Page

29

Last Page

40

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.