Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1992-09-01
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะปริทันต์ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก (hy-gienic phase) โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความลึกของร่องลึกปริทันต์ (probing pocket depth) และระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์กับผิวรากฟัน (clinical attachment level) ก่อนและหลังการรักษา วิเคราะห์ค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์ที่ลดลง และการเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์ในเชิงสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก พบว่า 98% ของผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยของความลึกของร่องลึกปริทันต์ลดลง ในขณะที่ 80% ของผู้ป่วย แสดงค่าเฉลี่ยของระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์เพิ่มขึ้น เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความลึกของร่องลึกปริทันต์ และการเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะเป็นเฉพาะตําแหน่งจากร่องเหงือก 2323 ตําแหน่ง พบว่าในกลุ่มที่มีร่องลึกปริทันต์ในระดับ 3, 4, 5 และมากกว่าหรือเท่ากับ 6 มิลลิเมตร เมื่อทําการรักษาในระยะเริ่มแรกเสร็จสิ้นแล้วจะมีค่าความลึกของร่องปริทันต์ลดลง และมีระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์เพิ่มขึ้น (attachment gain) ตามความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลที่ได้แสดงว่า การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก ด้วยความลึกของร่องเหงือกที่ลดลงเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่วินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยเหล่านั้นมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ ระดับความรุนแรงของรอยโรคในแต่ละตําแหน่งเมื่อรักษาแล้ว รอยโรคที่มีความ รุนแรงมากสามารถมองเห็นผลการรักษาได้ดีกว่ารอยโรคที่มีความรุนแรงน้อย
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.15.3.4
First Page
187
Last Page
192
Recommended Citation
เหล่าศรีสิน, ณรงค์ศักดิ์; ครองระวะ, ดวงรัตน์; and พงษ์นริศร, นุชจรี
(1992)
"การเปลี่ยนแปลงสภาวะปริทันต์ ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 15:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.15.3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol15/iss3/4