Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1992-05-01
Abstract
ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับการผุด้านใกล้กลางของฟันตัดกลางซี่บนทั้งสองซี่ของคนไทยซึ่งโดยทั่วไปแล้วฟันทั้งสองซี่นี้จะอยู่ในสภาพเหมือนกัน ควรมีการผุทางด้านใกล้กลางเท่ากัน แต่ความเป็นจริงนั้นไม่พบทุกรายที่เป็นเช่นนี้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพรังสีของฟันหน้าบนจากผู้ที่มารับการถ่ายภาพรังสีทั้งหมด 947 คนที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี พ.ศ. 2530 ถึง 2532 ตั้งแต่อายุ 10 ถึง 59 ปี พบว่ามีการผุมากที่สุดในช่วงอายุ 20 ถึง 29 ปี ทั้งในเพศชายและหญิง โดยในจํานวนผู้ที่มีฟันผุนั้น ส่วนมากมีการผุเป็นแบบผุทั้งสองซี่ คิดเป็นร้อยละ 75.08 เมื่อรวมทุกช่วงอายุ คือ 10 ถึง 59 ปี มีค่าเฉลี่ยของการผุในฟันตัดกลางบนขวาต่อการผุในฟันตัดกลางบนซ้าย คิดเป็น 74 คน ต่อ 66 คนและเพศหญิงมีการผุมากกว่าชาย ในทุกช่วงอายุ โดยเพศหญิงผุร้อยละ 32.95 เพศชายผู้ร้อยละ 21.96 จากการวิเคราะห์โดยการทดสอบแบบ ไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สรุปได้ว่าแต่ละช่วงอายุมีการผุที่ด้านใกล้กลางไม่เท่ากัน โดยในช่วงอายุ 30 ถึง 39 ปีเพศหญิงและเพศชายมีการผุต่างกันอย่างมีนัย สําคัญที่ระดับ 0.05
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.15.2.3
First Page
91
Last Page
99
Recommended Citation
วัชรพงศ์, ภรณี; สุภาพรอด, พัชรินทร์; and ธีรวรางกูร, ไพรัช
(1992)
"ความชุกของการเกิดฟันผุระหว่างฟันตัดกลางซี่บนในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 15:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.15.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol15/iss2/3