Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1982-01-01
Abstract
เนื่องจากรอยพิมพ์เป็นสื่อที่อาจจะนําเชื้อโรคจากปากของผู้ป่วยมาสู่แบบจําลองได้ ดังนั้น ทุกรอยพิมพ์จึงควร ได้รับการทําลายเชื้อ รอยพิมพ์ชนิดโพลีซัลไฟด์ (polysulfide) ซิลิโคน (Silicone) โพลีอีเทอร์ (polyether) ซิงค์ออกไซด์ยูจินอล (zinc oxide eugenol) จะถูกทําลายเชื้อได้ดีโดยใช้น้ำยาสําหรับฆ่าเชื้อ และเมื่อได้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว แบบจําลองยังคงมีขนาด รูปร่าง (dimensional stability) และรายละเอียด (surface detail sharpness) ที่ถูกต้องเหมือนเดิม ส่วนรอยพิมพ์ที่ใช้วัสดุชนิดไฮโดรคอลลอยด์ชนิดผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ (reversible and irreversible hydrocolloid) คอมพาวด์ (impression compound) จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อไม่ได้ดีเพราะแบบจําลองที่ได้จะมีขนาดและรายละเอียดเปลี่ยนไป
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.15.1.7
First Page
49
Last Page
56
Recommended Citation
เสรีเชษฐพงษ์, ประเวศ and พงษ์สถิตย์, ศรีวรพงษ์
(1982)
"การใช้น้ำยาทําลายเชื้อในรอยพิมพ์ปาก,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 15:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.15.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol15/iss1/7