Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1982-01-01
Abstract
จากการสํารวจทันตสุขภาพนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 6-12 ปี จํานวน 728 คน ชายและหญิงเท่า ๆ กัน พบอัตราความชุกของโรคฟันผุในฟันแท้ของเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 73.9 รอยผุจะเริ่มปรากฏในกลุ่มฟันกราม ฟันกรามน้อยและฟันหน้าเมื่อเด็กอายุ 6, 7 และ 8 ปีตามลําดับ โดยอัตราความชุกของโรคฟันผุในกลุ่มฟันกรามเป็นร้อยละ 25.4, 35.31, 44.42, 55.04, 52.49, 50.41 และ 47.47 ในเด็กกลุ่มอายุ 6,7,8,9,10,11 และ 12 ปีตามลําดับ ซึ่งสูงกว่าอัตราดังกล่าวของกลุ่มฟันกรามน้อย และกลุ่มฟันหน้าของเด็กทุกกลุ่มอายุ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของเด็กกับตัวแปรตามอื่น ๆ ได้แก่ จํานวนเฉลี่ยของฟันที่ขึ้นในช่องปาก ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดคิดเป็นซี่ต่อคนและด้านต่อคน โดยวิธีของเปียร์สัน พบว่าเป็นไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.001) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายสูงถึง 0.99, 0.93 และ 0.94 ตามลําดับ เมื่อจําแนกค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด คิดเป็นซี่ต่อคนของเด็ก อายุตั้งแต่ 6-12 ปีเฉพาะกลุ่มฟันกราม พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.62, 1.31, 1.75, 2.24, 2.21, 2.46 และ 3.00 ตามลําดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยดังกล่าวเฉพาะกลุ่มฟันกรามน้อยมีค่าเท่ากับ 0.00, 0.04, 0.06, 0.27, 0.25, 0.22 และ 0.26 และค่าเฉลี่ยดังกล่าวเฉพาะกลุ่มฟันหน้ามีค่าเท่ากับ 0.00, 0.00, 0.06, 0.10, 0.12, 0.17 0.14 ตามลําดับ และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเหล่านี้เฉพาะในเด็กแต่ละกลุ่มอายุทีละคู่ด้วยวิธีทดสอบคู่-ที พบว่าค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของกลุ่มฟันกรามสูงกว่ากลุ่มฟันกรามน้อย และกลุ่มฟันหน้าของเด็กทุก ๆ กลุ่มอายุ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) ในขณะที่ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดังกล่าว ระหว่างกลุ่มฟันกรามน้อยกับกลุ่มฟันหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มอายุมีเพียงเล็กน้อย และไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.15.1.6
First Page
41
Last Page
48
Recommended Citation
เจริญทรัพย์, โอบเอื้อ and ปัญญางาม, ระวีวรรณ
(1982)
"การผุของฟันแท้ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 15:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.15.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol15/iss1/6