•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1991-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินภาวะโรคปริทันต์และการรักษาที่จําเป็นโดยใช้ดัชนี CPITN ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 12 ปีด้วยดัชนี CPITN จำนวน 720 คน (หญิง 356 คน ชาย 364 คน) เป็นนักเรียนในเขตรอบนอก 412 คน และเป็นนักเรียนในเขตรอบใน 308 คน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นโรคปริทันต์ร้อยละ 100 โดยร้อยละ 92.5 มีภาวะโรคปริทันต์ สูงสุดที่ระดับ 2 (มีหินน้ำลาย) ร้อยละ 6.53 มีภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 1 (มีเลือดออก) ร้อยละ 0.97 มีภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 3 (ร่องลึกปริทันต์ลึก 4-5 มม.) และไม่พบภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 4 (ร่องลึกปริทันต์ลึกมากกว่า 6 มม.) ในนักเรียนทุกคน เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคปริทันต์ ระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทุกภาวะโรคปริทันต์ แต่เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคปริทันต์ระหว่างนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่รอบนอกและ เขตพื้นที่รอบใน พบว่านักเรียนในเขตพื้นที่รอบนอก มีภาวะโรคปริทันต์ระดับ 3 มากกว่านักเรียนในเขตพื้นที่รอบใน (P<0.05) ส่วนความจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาโรคปริทันต์ พบว่านักเรียนทั้งหมดต้องได้รับการแนะนำการรักษา อนามัยช่องปาก และร้อยละ 93.44 จำเป็นต้องได้รับการขูดหินน้ำลาย

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.14.1.2

First Page

11

Last Page

23

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.