Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1991-01-01
Abstract
การดูดซึมฟลูออไรด์เกิดได้ทั้งในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แต่กลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่าน ชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ได้ทำการทดลองแสดงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลง สภาวะกรดด่างของสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงปริมาณโซเดียม และคลอไรด์ไอออนที่อยู่ในสารละลาย ด้านผิวดูดซึม ต่อการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข โดยชั้นเซลล์ดูดซึมจะได้รับการแยก จากส่วนที่เป็นชั้นกล้ามเนื้อ และนำมาใส่ในเครื่องมือศึกษาการดูดซึมภายนอกร่างกาย สารละลายที่สัมผัสกับ ผิวเซลล์ดูดซึมจะได้รับการปรับสภาวะกรดด่างที่ 6.0 7.0 และ 8.0 ส่วนสารละลายที่สัมผัสด้านหลอดเลือด จะคงสภาวะกรดด่างที่ 7.5 ฟลูออไรด์จะถูกเติมลงไปในสารละลายด้านเซลล์ดูดซึม เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.25 0.5 และ 1.0 มิลลิโมล หลังจากนั้น 30 นาทีจะนำสารละลายด้านหลอดเลือดไปหาปริมาณฟลูออไรด์ ผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างระหว่าง 6.0-8.0 ไม่มีผลต่อการขนส่งของ ฟลูออไรด์ผ่านเซลล์ผนังลําไส้เล็ก การลดลงในความเข้มข้นของโซเดียมไอออนในสารละลายด้านดูดซึม และการเติมวาเบน (ouabain) ลงไปในสารละลายด้านหลอดเลือด จะมีผลให้การดูดซึมฟลูออไรด์ลดลง แต่ การขนส่งฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณคลอไรด์ไอออนในสารละลายด้านดูดซึมลดลง ผลการทดลองไม่มี ข้อมูลสนับสนุนสมมุติฐานที่มีผู้เสนอว่าการดูดซึมฟลูออไรด์ในลําไส้เล็กเกิดขึ้นในรูปการแพร่กระจายของ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ แต่ข้อมูลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการดูดซึมของฟลูออไรด์จากลำไส้เล็ก น่าจะเกิดจากการแพร่กระจายของฟลูออไรด์ไอออน
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.14.1.1
First Page
1
Last Page
10
Recommended Citation
นพคุณ, จีรศักดิ์; เตชาภิประณัย, ศานตี; and โชติไพบูลย์พันธุ์, ศิริพร
(1991)
"การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 14:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.14.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol14/iss1/1