Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1990-01-01
Abstract
จากการตรวจหาจุดบกพร่องภายใน (internal defects) ส่วนโยงใหญ่ (major connector) ของโครงโลหะ เหวี่ยงของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ จากแลปเอกชนที่มีชื่อเสียง 2 แห่ง ซึ่งใช้วิธีหลอมโลหะโคบอลต์-โครเมียมแบบ เหนี่ยวนําไฟฟ้า (electric induction) และก๊าซออกซิอะเซทิลีน (oxy-acetylene gas) โดยนำชิ้นโลหะทั้งหมด มาตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมใช้ความต่างศักย์ระหว่างขั้ว 70 kVp เวลาถ่าย 1.5 วินาที ใช้ ออกคลูซัลฟิล์ม ระยะห่างระหว่าง โฟกัสกับฟิล์ม 50 เซนติเมตร จากภาพรังสีพบจุดบกพร่องที่มีรูปร่าง ขนาด จำนวน แตกต่างกันไปในแต่ละชิ้น โครงโลหะซึ่งเกิดจากการหลอมแบบเหนี่ยวนำไฟฟ้า พบมีจุดบกพร่องเกิดขึ้นร้อยละ 18.96 เมื่อเทียบกับแบบใช้ก๊าซซึ่งพบถึงร้อยละ 43.33 สัดส่วนของจำนวนชิ้นที่มีจุดบกพร่องในส่วนโยงใหญ่ของโครงโลหะ เหวี่ยงของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ ซึ่งใช้วิธีการหลอมโลหะโดยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า แตกต่างกับการใช้ก๊าซออกซิ อะเซทิลีนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05)
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.13.2.3
First Page
69
Last Page
76
Recommended Citation
จีระศิริ, ประวัติ and ศิลปบรรเลง, ยาหยีศรีเฉลิม
(1990)
"จุดบกพร่องภายในส่วนโยงใหญ่ของโครงโลหะฟันปลอมบางส่วนถอดได้,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 13:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.13.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol13/iss2/3