•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1990-01-01

Abstract

รายงานการวิจัยที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้ทราบว่า การอมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นร้อยละ 0.9 ร้อยละ 1 ไม่อาจป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทราบผลของการอมเกลือป่นต่อ :- 1) ปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก 2) ปริมาณการเกิดคราบจุลินทรีย์ การทดลองที่ 1 เก็บน้ำลายจากอาสาสมัคร 10 คน โดยเก็บก่อนและหลังอมเกลือป่น 1 ช้อนชา ปาด และก่อนและหลังอมน้ำเปล่า นำน้ำลายที่เก็บได้ไปทำให้เจือจาง แล้วเพาะเลี้ยงเชื้อ ผลปรากฏว่า การ อมเกลือป่นสามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในน้ำลายได้มากกว่าการอมน้ำ แสดงว่าเกลือป่นมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การทดลองที่ 2 ทำในอาสาสมัคร 19 คน มีเหงือกค่อนข้างปกติ ทุกคนต้องผ่านการทดสอบ 3 ช่วง คือ ช่วงอมน้ำเปล่า ช่วงอมเกลือ และช่วงอมน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน ส่วนจะเริ่มช่วงใดก่อนหลังเป็นไป ตามสุ่มตัวอย่าง ช่วงหนึ่ง ๆ จะเริ่มต้นทำการทดลองในวันจันทร์ โดยจะขูดและขัดผิวฟันให้สะอาด แล้วให้ อาสาสมัครงดเว้นการทำความสะอาดฟันโดยสิ้นเชิงจนถึงวันศุกร์ ระหว่างนั้นถ้าหากอมน้ำเปล่าก็มิได้จำกัด จำนวนครั้ง ถ้าหากอมเกลือก็จะให้อมเกลือป่นครั้งละ 1 ช้อนชาปาด เป็นเวลา 1 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า- ก่อนนอน ถ้าหากอมน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน 0.2% ก็ให้อมครั้งละ 10 มล. นาน 1 นาที วันละ 2 ครั้งเช่นกัน การประเมินปริมาณคราบจุลินทรีย์กระทำในวันศุกร์ ผลการทดลองปรากฏว่าเกลือป่นไม่สามารถลดปริมาณ การเกิดคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง ๆ ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย คงเนื่องมาจาก ความไม่สามารถคงอยู่ในปากได้นาน ส่วนน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน 0.2% สามารถลดปริมาณการเกิด คราบจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.13.1.1

First Page

1

Last Page

6

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.