Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1989-01-01
Abstract
การศึกษาเกี่ยวกับระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด ในนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 อายุระหว่าง 18-26 ปี (เฉลี่ย 20.5 ปี) จำนวน 71 คน แบ่งเป็นชาย 26 คน หญิง 45 คน เพื่อ (1) เปรียบเทียบการวัดค่าระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด โดยวิธีวัดจุดที่ทำขึ้นที่ปลายคาง และวิธีวัดโดยตรงจาก ขอบปลายฟันตัดซี่กลางบนและล่าง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอ้าปากกว้างมากที่สุด และ (3) ศึกษาการเบี่ยงเบน ของกระดูกขากรรไกรล่างในการอ้าปากกว้างมากที่สุด พบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด จากการหาโดยวิธีแรก มีค่าเท่ากับ 43.07 ± 6.98 มม. (48.03 ± 6.97 มม. ในเพศชาย และ 40.20 ± 5.20 มม. ในเพศหญิง) ค่าเฉลี่ยฯ ที่หาโดยวิธีวัดโดยตรงวิธีที่สอง มีค่าเท่ากับ 48.79 ± 6.60 มม. (53.58 ± 4.98 มม. ในเพศชาย และ 46.02 ± 5.82 มม. ในเพศหญิง) จาก การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการอ้าปากกว้างมากที่สุด พบว่า ปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อระยะของการ อ้าปากกว้างมากที่สุดได้แก่ เพศ ส่วนสูง น้ําหนัก ระยะในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดของกะโหลกศีรษะถึงจุดต่ำสุด ของคาง ระยะระหว่างคอนไดล์ถึงมุมของขากรรไกรล่าง และระยะระหว่างแนวแกนหมุนของข้อต่อกระดูกขากรรไกร ถึงอินไซซัล พอยท์ และพบว่าการเบี่ยงเบนของกระดูกขากรรไกรล่างในการอ้าปากมากที่สุดมีค่าอยู่ในช่วงเบี่ยงเบน ไปทางซ้าย 7 มม. ถึงเบี่ยงเบนไปทางขวา 2 มม. โดยที่ผู้ที่นำมาศึกษาส่วนใหญ่มีการเบี่ยงเบนไปทางซ้าย
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.12.1-3.4
First Page
19
Last Page
27
Recommended Citation
มุทิรางกูร, วันทนี; จันทรเวคิน, ยสนันท์; พงษ์ศิริเวทย์, สุรวุฒน์; and ตีระนทีกุลชัย, ธำรงค์
(1989)
"การศึกษาเกี่ยวกับระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 12:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.12.1-3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol12/iss1/4