Chulalongkorn University Dental Journal
Publication Date
1988-01-01
Abstract
การถ่ายภาพรังสีเพื่อศึกษาฟันและกระดูกรอบ ๆ ฟันของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่โคกพนมดี จังหวัด ฉะเชิงเทรา ซึ่งขุด พ.ศ. 2528 พบว่า ความผิดปกติต่าง ๆ ที่มีมาแต่กำเนิด (anomalies) เช่น ฟันหาย ฟันเกิน ฟันคุด ฟันฝั่ง รูปร่าง ขนาดของฟันและจำนวนฟันเหมือนกับฟันของมนุษย์ปัจจุบัน ที่ต่างกันไปบ้างเกิดจากภาวะ สิ่งแวดล้อม โภชนาการ อุปนิสัย ตลอดจนอารยธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ฟันผุ พบว่า มีน้อยมาก 0.36 ซี่/คน โรคปริทันต์มีเป็นเฉพาะที่มีร้อยละ 14.75 สิ่งที่พบมากที่สุด ได้แก่ ฟันสึก มีร้อยละ 77.18 การอุดตัน ของโพรงฟันก็พบมากถึงร้อยละ 70.28 ผลตามจากการใช้ฟันมาก เสี้ยนใยกระดูกที่รองรับฟันจะมีการหนาตัว ผิดปกติมากถึงร้อยละ 49.18 จึงอาจกล่าวได้ว่าทันตสุขภาพของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแง่ของการ ทนทุกข์ทรมานจากการปวดฟัน ฟันโยก เหงือกบวม เป็นหนองฝีมีน้อยกว่าคนปัจจุบัน
DOI
10.58837/CHULA.CUDJ.11.1-3.4
First Page
23
Last Page
33
Recommended Citation
ธีรวรางกูร, ไพรัช
(1988)
"ภาพรังสีของฟันมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่โคกพนมดี : ภาคที่ 3,"
Chulalongkorn University Dental Journal: Vol. 11:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUDJ.11.1-3.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cudj/vol11/iss1/4