•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : Sodium taurocholate co-transporting polypeptide หรือ NTCPเป็นตัวรับที่จำเพาะต่อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอยู่บนผิวของเซลล์ตับทำให้ไวรัสตับอักเสบบีสามารถผ่านเข้าไปสู่เซลล์ตับได้ มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาในประชากรจีนชาวฮั่นพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (single nucleotide polymorphisms, SNPs)ของยีนNTCP มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังอย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนนี้กับการดำเนินโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในกลุ่มประชากรชาวไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนNTCP กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและการเกิดมะเร็งตับวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน จำนวน 242 ราย, กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง จำนวน 230 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง จำนวน 635 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับร่วมด้วย จำนวน 319 ราย การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนดังกล่าวทำโดยวิธี Allelicdiscrimination ด้วย TaqMan probe real-time polymerase chainreaction สถิติที่ใช้ ได้แก่ unpaired t-test, analysis of variance(ANOVA) และ Chi-square testผลการศึกษา : ความถี่ของจีโนไทป์ GG, GA และ AA ของยีน NTCP ตำแหน่งrs2296651 ในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดีเป็นร้อยละ 74.2, ร้อยละ 22.1และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ, กลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เองเป็นร้อยละ 84.1, ร้อยละ 15.1 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับและกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังเป็นร้อยละ 85.0,ร้อยละ 13.4 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าความถี่ของจีโนไทป์ non-GG (GA และ AA) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง [odds ratio (OR)0.54; 95 % CI (0.35 - 0.86), P = 0.001] และในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง (0.51; 0.35 - 0.73, P < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของจีโนไทป์ระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง และกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังนอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน NTCP ตำแหน่ง rs2296651 กับการพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังที่เป็นมะเร็งตับกับไม่ได้เป็นมะเร็งตับสรุป : จีโนไทป์ GA หรือ AA ของยีน NTCP ตำแหน่ง rs2296651 มีความชุกสูงในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน NTCP ตำแหน่ง rs2296651 ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง และการพัฒนาจากระยะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีแบบเรื้อรังไปเป็นมะเร็งตับ.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

935

Last Page

945

Share

COinS